ค้นเจอ 142 รายการ

ทาง

หมายถึงน. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สำหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสำเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทางธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.

เขื่อน

หมายถึงน. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลำนํ้า เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดินหรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).

ลิ่ม

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กเป็นต้นที่มีสันหนาปลายบาง สำหรับจีมหรือขัดให้แน่น หรือตอกลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเช่นท่อนไม้เพื่อให้แตกแยกออกจากกัน, ไม้ขัดบานประตูหน้าต่างซึ่งมีลักษณะคล้ายลิ่ม, เรียกเงินหรือทองที่หลอมเป็นแท่งตามที่ต้องการเพื่อเก็บรักษาไว้ว่า เงินลิ่ม ทองลิ่ม, เรียกอาการที่เลือดไหลออกมาแข็งตัวเป็นก้อน ๆ ว่า เลือดออกเป็นลิ่ม ๆ.

บาน

หมายถึงน. ของที่เป็นแผ่น ๆ บางอย่าง เช่น บานประตู บานหน้าต่าง บานกระจกเงา; ลักษณนามใช้เรียกของเช่นนั้น เช่น กระจกบานหนึ่ง หน้าต่าง ๒ บาน. ก. เผยออก, คลี่ออก, ขยายออก, เช่น ดอกไม้บาน หอบซี่โครงบาน; กระจาย เช่น เรือแล่นจนนํ้าบาน. ว. ที่ผายออก เช่น ชามปากบาน กางเกงขาบาน กระโปรงบาน; ปลาบปลื้ม, แช่มชื่น, เบิกบาน, เช่น ใจบาน หน้าบาน; (ปาก) มาก เช่น เสียไปบาน.

สนิท

หมายถึง[สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขาสนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็นเนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).

ยัน

หมายถึงก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.

สลักเพชร

หมายถึงน. ไม้หรือเหล็กสำหรับสอดขัดกลอนประตูหน้าต่างแบบเรือนไทยเพื่อไม่ให้เคลื่อนที่; วิธีเข้าปากไม้แบบหนึ่ง บากปากไม้และเดือยเป็นรูปหางเหยี่ยว ใช้ลิ่มสอดเข้าไปที่หัวเดือยซึ่งบากไว้ เมื่อสอดเดือยเข้าไปในปากไม้แล้วตอกอัด ลิ่มจะดันให้ปลายเดือยขยายออกอัดแน่นกับปากไม้; กล้ามเนื้อที่เกาะอยู่ระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานตรงตะโพกกับหัวกระดูกต้นขาทำให้ขากางออกได้.

ขบ

หมายถึงก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบ บาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่งที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.

ผ่าน

หมายถึงก. ล่วงจุดใดจุดหนึ่งไป เช่น รถผ่านสนามหลวง, อาการที่เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น รถสายนี้ผ่านสามย่าน สีลม, ล่วงเลย เช่น เวลาผ่านไป ๕ ปี; โดยปริยายหมายความว่า เคย เช่น ผ่านตามาแล้ว ผ่านหูมาก่อน หรือ ชำนาญเชี่ยวชาญ เช่น ผ่านงานมามาก ผ่านศึกมาหลายครั้ง, ยอมให้ก่อน เช่น ผ่านไปก่อน, ยอมให้ล่วงเข้าไปได้ เช่น บัตรผ่านประตู, สอบได้ เช่น ผ่านชั้นประถมปีที่ ๑ แล้ว, ได้รับความเห็นชอบ เช่น พระราชบัญญัติงบประมาณผ่านสภาแล้ว, ตัดทาง, ลัดทาง, เช่น ห้ามเดินผ่านสนาม, ข้าม เช่น ไฟแดงห้ามผ่าน มองผ่านไป, เปลี่ยน เช่น ผ่านมือ, ครอบครอง เช่น ผ่านเมือง, บอกราคาสูงเกินไป ในความว่า บอกราคาผ่านมากไป, ล่วงพ้นไป เช่น เวลาผ่านไป. ว. เรียกม้าที่มีลายขาวขวางพาดตัวว่า ม้าผ่าน; ถ้าประกอบหน้านามบางคำหมายความว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น ผ่านเกล้าฯ ผ่านเผ้า ผ่านพิภพ ผ่านฟ้า.

จำปา

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็นกลีบเหมือนกลีบดอกจำปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ