ค้นเจอ 207 รายการ

ตะกัง

หมายถึงน. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า.

ราชองครักษ์

หมายถึง[ราดชะองคะรัก] น. นายทหารชั้นสัญญาบัตรรักษาพระองค์พระมหากษัตริย์เป็นต้น มี ๓ พวก คือ ราชองครักษ์ประจำ ราชองครักษ์เวร ราชองครักษ์พิเศษ.

เคี่ยวเข็ญ

หมายถึงก. บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย. (พระราชนิพนธ์ ร. ๖); บังคับให้ทำงานให้มากขึ้น เช่น เคี่ยวเข็ญให้ขยันหมั่นเพียรในการเล่าเรียน.

คามณีย์

หมายถึง[คามะนี] น. ผู้ฝึกหัดม้าหรือช้าง, หมอช้าง, นายสารถี, เช่น พลคชคณผาดผ้าย คามณีย์ทาย จำทวยทวน. (สมุทรโฆษ). (ป.).

มรณบัตร

หมายถึง[มอระนะบัด] (กฎ) น. หนังสือสำคัญที่นายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตายออกให้เป็นหลักฐานแสดงรายการคนตายแก่ผู้แจ้ง.

ทวาร,ทวาร-

หมายถึง[ทะวาน, ทะวาระ-] น. ประตู เช่น นายทวาร; ช่อง ในคำ เช่น ทวารหนัก ทวารเบา ใช้เป็นคำสุภาพ หมายถึง รูขี้ รูเยี่ยว, ทาง เช่น กายทวาร. (ป., ส.).

ประทวนสินค้า

หมายถึง(กฎ) น. เอกสารซึ่งนายคลังสินค้าออกโดยระบุชื่อผู้ฝากสินค้า ซึ่งให้สิทธิแก่ผู้ฝากที่จะสลักหลังจำนำสินค้าที่จดแจ้งไว้ในประทวน โดยไม่ต้องส่งมอบสินค้านั้นแก่ผู้รับสลักหลัง.

เรเดียม

หมายถึงน. ธาตุลำดับที่ ๘๘ สัญลักษณ์ Ra เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะที่หายากมาก หลอมละลายที่ ๗๐๐°ซ. ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์สำหรับรักษาโรคมะเร็ง. (อ. radium).

สะเออะ

หมายถึงก. เสนอหน้าเข้าไปในสถานที่ที่ไม่สมควรเช่นในที่รโหฐานเมื่อไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง, เจ๋อ, เช่น สะเออะไปนั่งเก้าอี้ประธาน, เสนอหน้าพูดเป็นต้นโดยไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น นายยังไม่ทันถาม ก็สะเออะรายงาน.

สุขศาลา

หมายถึง[สุกสาลา] น. สถานบริการสาธารณสุขที่ไม่มีแพทย์ประจำ ให้บริการสาธารณสุขทุกสาขา และส่งเสริมป้องกันด้านอนามัยแก่ประชาชนในระดับตำบลและหมู่บ้าน, ปัจจุบันเรียกว่า สถานีอนามัย.

สะพั้น

หมายถึงน. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า.

อัตราส่วน

หมายถึงน. เกณฑ์เปรียบเทียบปริมาณของของอย่างเดียวกันหรือต่างกัน เพื่อจะได้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น อัตราส่วนของนายแพทย์ ๑ คน ต่อประชาชน ๒๕๐ คน อัตราส่วนของนักศึกษา ๑ คน ต่อหนังสือในห้องสมุด ๕ เล่ม; (คณิต) การเปรียบเทียบปริมาณที่เป็นของอย่างเดียวกัน เพื่อให้ทราบว่าปริมาณแรกเป็นกี่เท่าของปริมาณหลัง หรือเป็นเศษส่วนเท่าใดของปริมาณหลัง เช่น จำนวนผู้ใช้หนังสือในห้องสมุดกับจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องสมุดบางแห่งคิดเป็นอัตราส่วน ๑๐๐ : ๑ ครูกับนักเรียนควรจะมีอัตราส่วนไม่เกิน ๑ : ๔๐. (อ. ratio).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ