ค้นเจอ 355 รายการ

ดิ้น

หมายถึงน. เส้นเงิน ทอง หรือทองแดง สำหรับปักลวดลายบนผ้าหรือแพรเป็นต้น.

หิรัญ,หิรัญ-

หมายถึง[หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิรญฺ; ส. หิรณฺย).

โกษย

หมายถึง[โกไส] (โบ) น. โกไสย เช่น ผ้าแพรทองโกษย. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

กุดั่น

หมายถึงน. ทองแกมแก้ว คือ เครื่องประดับเพชรพลอยหรือกระจก เช่น ลายปั้นกุดั่น คือ ลายปั้นปิดทองประดับกระจก, โกศกุดั่น คือ โกศทำด้วยไม้จำหลักปิดทอง ประดับกระจก; ชื่อลายเป็นดอกไม้ ๔ กลีบรวมกันอยู่เป็นพืด, ถ้าแยกอยู่ห่าง ๆ เรียกว่า ประจำยาม.

เครื่องใหญ่

หมายถึงน. ปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดทองเป็นอุปกรณ์ระนาดเอก และระนาดเหล็กเป็นอุปกรณ์ระนาดทุ้ม.

ถมตะทอง

หมายถึงน. เครื่องถมที่ทำโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.

ไม้หลักปักเลน

หมายถึง(สำ) ว. โลเล, ไม่แน่นอน, เช่น เหมือนไม้หลักปักเลนเอนไปมา. (สังข์ทอง).

ราง

หมายถึงน. ร่องที่ขุดเป็นทางสำหรับให้น้ำไหล; สิ่งสำหรับรองน้ำฝนที่ชายคาเป็นต้น มักทำด้วยสังกะสียาวเป็นแนวไปตามชายคา; ไม้ที่ขุดหรือต่อให้เป็นร่องยาว ๆ หรือปล้องไม้ไผ่ผ่าซีก มีด้านสกัดหัวท้าย สำหรับใส่อาหารหมูหรือย้อมผ้าเป็นต้น; โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รางระนาด; เหล็กที่ใช้เป็นทางเดินของล้อเลื่อน เช่น รางรถไฟ; ไม้เจาะเป็นร่องยาวสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันได้ ๘๐ เหรียญ หรือ ๑ ชั่ง, ปัจจุบันเป็นแผ่นไม้เจาะเป็นร่องสำหรับใส่เหรียญบาทเรียงกันเป็นแถว ๆ แผ่นหนึ่งมี ๑๐ แถว แถวหนึ่งใส่เหรียญบาทได้ ๑๐ เหรียญ รวมเป็น ๑๐๐ บาท; ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นราง เช่น ลูกคิดรางหนึ่ง ระนาด ๒ ราง รางรถไฟ ๓ ราง.

กัมพู

หมายถึง(แบบ) น. หอยสังข์; ทอง เช่น กัมพูหุ้มพู่พรรณจามรี. (บุณโณวาท), ทองสุคนธ์ปนสุวรรณ์กัมพู. (รามเกียรติ์ ร. ๒), (โบ) เขียนเป็น กำพู กำภู ก็มี. (ป., ส. กมฺพุ).

มีทองเท่าหนวดกุ้ง นอนสะดุ้งจนเรือนไหว

หมายถึง(สำ) ก. มีสมบัติเพียงเล็กน้อยแต่กังวลจนนอนไม่หลับ.

โหมด

หมายถึง[โหฺมด] น. เรียกผ้าชนิดหนึ่งซึ่งเดิมทำด้วยกระดาษทองตัดเป็นเส้นเหมือนเส้นทอง แล้วทอกับไหม ต่อมาใช้กระดาษเงินกระดาษทองพันเส้นไหมทอกับไหมสี ว่า ผ้าโหมด.

เวียงวัง

หมายถึงน. เมือง, วัง, เช่น จะแบ่งปันข้าวของในท้องคลัง ให้ครอบครองเวียงวังเห็นทันตา. (สังข์ทอง).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ