ค้นเจอ 324 รายการ

ญัตติ

หมายถึงน. คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า; ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).

กสิณ

หมายถึง[กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (นํ้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).

อาโปกสิณ

หมายถึง[-กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอาธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.

อภิรุม

หมายถึงน. ฉัตรเครื่องสูงอย่างหนึ่ง ใช้ในกระบวนแห่ของหลวง หรือปักเป็นเครื่องประดับเกียรติยศ, โบราณเขียนเป็น อภิรม ก็มี.

ธัญดัจ

หมายถึงน. เปลือกข้าว, แกลบ. (ป. ธญฺตจ; ส. ธานฺยตฺวจ).

สันถัต

หมายถึงน. ผ้าที่พระภิกษุรองนั่ง. (ป. สนฺถต ว่า ปูแล้ว, ลาดแล้ว).

ตฤษณา

หมายถึง[ตฺริดสะหฺนา] (แบบ) น. ความปรารถนา, ความอยาก, ความดิ้นรน. (ส.; ป. ตณฺหา).

เสี่ยงชีวิต

หมายถึงก. ยอมทำสิ่งที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต เช่น ทหารเสี่ยงชีวิตเข้ากู้กับระเบิด.

ใยหิน

หมายถึงน. แร่ประเภทซิลิเกต โดยมากเป็นแคลเซียมและแมกนีเซียมซิลิเกต ลักษณะเป็นเส้นใย ทนไฟ ใช้ประโยชน์นำไปทำวัสดุทนไฟ และฉนวนความร้อน.

อบ

หมายถึงก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจายออกไปไม่ได้; ทำให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.

สุพพัต

หมายถึง[สุบพัด] น. ผู้ประพฤติดี. (ป. สุพฺพต; ส. สุวรฺต).

อมตบท

หมายถึงน. ทางพระนิพพาน. (ป. อมตปท; ส. อมฺฤตปท).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ