ค้นเจอ 194 รายการ

ทศ,ทศ,ทศ-

หมายถึง[ทด, ทดสะ-] น. เรียกเหรียญทองสมัยรัชกาลที่ ๔ ชนิดหนึ่ง มีค่าเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของชั่ง = ๘ บาท ว่า ทองทศ. ว. สิบ, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

ตะโพง

หมายถึงว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทำคลุมโปงตะโพงดัน. (ปกีรณำพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า.

ลายเบา

หมายถึงน. ลายที่เกิดขึ้นด้วยการแกะเดินเส้นเป็นร่องตื้น ๆ บนพื้นหินหรือพื้นโลหะ เช่น ลายเบาจารึกบนพื้นหินชนวน ลายเบาบนรอยพระพุทธบาทสัมฤทธิ์.

กำแพงเขย่ง

หมายถึง[-ขะเหฺย่ง] น. ชื่อพระพิมพ์ปางลีลา ยกพระบาทข้างหนึ่งคล้ายเขย่ง เพราะขุดพบที่จังหวัดกำแพงเพชรเป็นแห่งแรก จึงเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง, ถ้ามีขนาดสูงประมาณ ๑ ศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก.

นาภี

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

นาภิ

หมายถึงน. สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).

หลัก

หมายถึงน. ตำแหน่งของตัวเลขซึ่งแสดงจำนวน คือ ถ้าเป็นเลขตัวเดียว เรียกว่า จำนวนหน่วย เลข ๒ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนสิบ เลข ๓ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนร้อย เลข ๔ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนพัน เลข ๕ ตัว เรียงกัน เรียกว่า จำนวนหมื่น เลข ๖ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนแสน เลข ๗ ตัวเรียงกัน เรียกว่า จำนวนล้าน เช่น ๙๘๗ เป็นจำนวนร้อย ๙ เป็นเลขหลักร้อย หมายถึง ๙๐๐ ส่วน ๘ เป็นเลขหลักสิบ หมายถึง ๘๐ และ ๗ เป็นเลขหลักหน่วย หมายถึง ๗.

หย่อน

หมายถึงก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกำลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.

กระไร

หมายถึงว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

หมายรับสั่ง

หมายถึงน. หมายที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสั่งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการพระราชพิธีเป็นการภายในตอนล่างสุดของหมายเขียนว่า “ทั้งนี้ให้จัดการตามหน้าที่และกำหนดวันตามรับสั่งอย่าให้ขาดเหลือ ถ้าสงสัยให้ถามผู้รับรับสั่งโดยหน้าที่ราชการ”.

บาทบูรณ์

หมายถึง[บาดทะบูน] น. คำที่ทำบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคำที่ได้ใจความ ๑๐ คำ แล้วอีกคำหนึ่งไม่ต้องมีความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คำเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).

โศลก

หมายถึง[สะโหฺลก] น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺมนามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป. (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง; ชื่อเสียง, เกียรติยศ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ