ค้นเจอ 205 รายการ

จตุราริยสัจ

หมายถึง[จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).

วิปัสสนา

หมายถึง[วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).

ริ้วรอย

หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นแนวเป็นทาง เช่น ถูกหนามเกี่ยวเป็นริ้วรอย ถูกแมวข่วนเป็นริ้วรอย, โดยปริยายหมายความว่า ร่องรอย เช่น หน้าตามีริ้วรอยแห่งความทุกข์.

สาหัสสากรรจ์

หมายถึงว. แสนสาหัส, ร้ายแรงมาก, คอขาดบาดตาย, เช่น ได้รับทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์, โดยปริยายหมายความว่า ลำบากยิ่ง เช่น ทางนี้ทุรกันดารสาหัสสากรรจ์ บุกป่าฝ่าดงอย่างสาหัสสากรรจ์.

เกลือกกลิ้ง

หมายถึงก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วยความทุกข์ทรมาน เช่น นอนเกลือกกลิ้งไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.

เวทนา

หมายถึง[เวทะ-] น. ความรู้สึก, ความรู้สึกทุกข์สุข, (เป็นขันธ์ ๑ ในขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ); ความเจ็บปวด, ทุกข์ทรมาน. (ป., ส.).

เปลื้อง

หมายถึง[เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่), ทำให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์ เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.

งอมพระราม

หมายถึง(สำ) ว. มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).

กระแสจิต

หมายถึงน. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิดที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกันระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.

หิงสา

หมายถึงน. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

เจ้าทุกข์

หมายถึงน. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.

หึงส,หึงส-,หึงสา

หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ