ค้นเจอ 288 รายการ

รูปพรหม

หมายถึงน. เทพในพรหมโลกตามคติพระพุทธศาสนา เป็นจำพวกมีรูป มี ๑๖ ชั้น, คู่กับ อรูปพรหม. (ดู พรหม, พรหม-).

ฮิจเราะห์

หมายถึงน. ชื่อศักราชในศาสนาอิสลาม นับตั้งแต่ปีที่พระมะหะหมัดออกจากเมืองเมกกะไปเมืองเมดินา เริ่มแต่ พ.ศ. ๑๑๒๓.

อุตรนิกาย

หมายถึง[อุดตะระ-] น. ชื่อนิกายหนึ่งในพระพุทธศาสนา คือ นิกายฝ่ายเหนือ ซึ่งเรียกว่า มหายาน. (ป., ส. อุตฺตรนิกาย).

สัจญาณ

หมายถึง[สัดจะ-] น. ความรู้เรื่องแห่งความจริง, ในพระพุทธศาสนาประสงค์เอาปรีชาหยั่งรู้อริยสัจ. (ป. สจฺจาณ).

อัญดิตถีย์,อัญเดียรถีย์

หมายถึง[-ดิดถี, -เดียระถี] น. พวกที่มีความเชื่อถืออย่างอื่น, พวกนอกพระพุทธศาสนา. (ป. อญฺติตฺถิย; ส. อนฺย + ตีรฺถฺย).

บูชนียสถาน

หมายถึง[บูชะนียะสะถาน] น. สถานที่เนื่องด้วยศาสนา ซึ่งเป็นที่ควรแก่การเคารพบูชา เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระปฐมเจดีย์.

มงคลสูตร

หมายถึง[มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.

เข้าที่

หมายถึงก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.

ชินโต

หมายถึงน. ชื่อศาสนาดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง มีคำสอนให้เคารพบูชาธรรมชาติ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ แม่นํ้า.

คว่ำบาตร

หมายถึง(สำ) ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น.

วต,วต-,วตะ

หมายถึง[วะตะ-] น. พรต, ข้อปฏิบัติ; ความประพฤติ; การจำศีล, การบำเพ็ญทางศาสนา, การปฏิบัติ; ประเพณี, ธรรมเนียม. (ป. วต; ส. วฺรต).

ศาสดา

หมายถึง[สาดสะดา] น. ผู้ตั้งลัทธิศาสนา เช่น ศาสดาทั้ง ๖, คำเรียกพระพุทธเจ้าว่า พระบรมศาสดา. (ส. ศาสฺตา; ป. สตฺถา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ