ค้นเจอ 155 รายการ

คำเทียบ

หมายถึงน. แบบสอนอ่านที่แจกตามรูปตามมาตรา ก กา กง กน ฯลฯ เช่น ก กา กิ กี ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ ก กา กง กัง กาง กิง ฯลฯ เป็นคำเทียบของแม่ กง.

นวก,นวก-,นวก-

หมายถึง[นะวะกะ-] น. หมวด ๙ หมายความว่า วัตถุอันมีจำนวน ๙ ทุกอย่าง เช่น รัตนะ ๙ คำสอนของพระศาสดา ๙ พุทธคุณ ๙ เอามารวมไว้ในหมวดนั้น เรียกว่า นวก เช่น นวกนิบาต. (ป.).

อนุ

หมายถึงคำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย เช่น อนุทิศ = ทิศน้อย, ภายหลัง, รุ่นหลัง, เช่น อนุชน = ชนรุ่นหลัง, ตาม เช่น อนุวัต = เป็นไปตาม, เนือง ๆ เช่น อนุศาสน์ = สอนเนือง ๆ คือ พรํ่าสอน. (ป., ส.).

ตรีปิฎก

หมายถึงน. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่งเรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).

บุญ,บุญ-

หมายถึง[บุน, บุนยะ-] น. การกระทำดีตามหลักคำสอนในศาสนา; ความดี, คุณงามความดี. ว. ดี เช่น คนใจบุญ, มีคุณงามความดี เช่น คนมีบุญ. (ป. ปุญฺ; ส. ปุณฺย).

อักษรเลข

หมายถึง[อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตำแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทำหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.

กระทง

หมายถึงว. ใช้ควบกับคำ รุ่น ว่า รุ่นกระทง, เรียกไก่อ่อนอายุประมาณ ๓ เดือนว่า ไก่กระทง, ใช้สำหรับเรียกไก่ตัวผู้ที่สอนขันว่า ไก่รุ่นกระทง, โดยปริยายใช้เรียกชายกำลังแตกเนื้อหนุ่มเป็นเชิงเปรียบเปรยว่า หนุ่มรุ่นกระทง.

กระพอก

หมายถึงน. กล่องสานมีฝาครอบสำหรับใส่อาหาร; หม้อ (มงคลทีปนีแปลร้อย กุมภชาดก); กระบะสำหรับใส่กับข้าว เช่น ร่วมกระพอกจอกจานร้านเรือนเดียว. (สุ. สอนเด็ก); การเลี้ยงกัน, ที่เลี้ยงกัน. (อะหม พอก ว่า เลี้ยงกัน).

บ้าลำโพง

หมายถึงว. บ้าเพราะกินเมล็ดลำโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป. (คาวี), ทำโมโหโกรธาบ้าลำโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์. (พิเภกสอนบุตร).

ประภัสสร

หมายถึง[ปฺระพัดสอน] น. เลื่อม ๆ พราย ๆ, มีแสงพราว ๆ เหมือนแสงพระอาทิตย์แรกขึ้น; ผ่องใส, บริสุทธิ์ เช่น จิตประภัสสร, เขียนเป็น ประภัสร์ ก็มี เช่น ธรรมรสเรืองรองผ่องประภัสร์ เป็นมิ่งฉัตรสุขสันต์นิรันดร. (ชีวิตและงานของสุนทรภู่). (ป. ปภสฺสร).

ตรีกาย

หมายถึงน. พระกายทั้ง ๓ ของพระพุทธเจ้าตามคติพระพุทธศาสนา นิกายมหายาน ได้แก่ ๑. ธรรมกาย (พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า) ๒. สัมโภคกาย (กายทิพย์หรือกายละเอียดของพระพุทธเจ้า) และ ๓. นิรมาณกาย (กายที่เป็นขันธ์ ๕ และปรากฏแก่มนุษย์ทั่วไป ซึ่งบางทีเรียกว่า รูปกาย).

ปริยาย

หมายถึง[ปะริ-] น. อย่าง, ทาง, หนทาง; การกล่าวอ้อมค้อม, นัยทางอ้อม, ตรงข้ามกับ นิปริยาย คือ อย่างตรง; การสอน, การเล่าเรื่อง. ว. อ้อม; (กฎ) หมายความถึงกรณีที่เจตนาในการกระทำมิได้แสดงออกอย่างชัดแจ้ง เป็นคำที่มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่าชัดแจ้ง. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ