ค้นเจอ 164 รายการ

ทำร้ายร่างกาย

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น เรียกว่า ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย.

พรากเด็ก

หมายถึง(กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอันสมควร.

ตัวการ

หมายถึงน. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคลตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน.

เอดส์

หมายถึงน. กลุ่มอาการและอาการแสดงที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันเสื่อมเหตุไวรัส HIV, กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม ก็ว่า. (อ. acquired immune deficiency syndrome, acquired immunodeficiency syndrome, AIDS).

เชื้อ

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทำให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือเผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.

เปลือง

หมายถึง[เปฺลือง] ก. ใช้หมดไปสิ้นไปเกินควร, หมดไป สิ้นไปโดยใช่เหตุ, เช่น เปลืองเงิน เปลืองเวลา เปลืองที่. ว. ลักษณะที่หมดไปสิ้นไปเกินควร เช่น ใช้เงินเปลือง.

ภาระจำยอม

หมายถึง(กฎ) น. ข้อผูกพันอันเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์จำต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น เช่น ทางภาระจำยอม.

โวย

หมายถึง(ปาก) ก. ส่งเสียงแสดงความไม่พอใจเกินกว่าเหตุ เช่น เรื่องเล็กนิดเดียวก็โวยเสียเป็นเรื่องใหญ่โต, ประท้วงด้วยการส่งเสียงเอะอะ เช่น เขาโวยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม; เปิดเผยให้รู้ทั่วไป เช่น อย่าโวยเรื่องนี้ให้ใคร ๆ รู้เดี๋ยวเขาเสียหาย.

ทัณฑ์บน

หมายถึงน. ถ้อยคำหรือหนังสือสัญญาว่าจะไม่ประพฤติละเมิดตามเงื่อนไขที่ได้ให้ไว้, ทานบน ก็ว่า; (กฎ) คำรับรองที่ทำขึ้นตามคำสั่งของศาลว่าจะไม่ก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตลอดเวลาที่ศาลกำหนด.

กระเหม่น

หมายถึง[-เหฺม่น] ก. เขม่น คือ อาการที่กล้ามเนื้อกระตุกเต้นเบา ๆ ขึ้นเอง ตามความเชื่อโบราณถือว่าเป็นนิมิตบอกเหตุร้ายหรือดีได้ เช่น กระเหม่นตา; เขม้น เช่น กระเหม่นตรับตัว. (เสือโค). (แผลงมาจาก เขม่น).

บอก

หมายถึงก. พูดให้รู้, เล่าให้ฟัง, เช่น บอกกันต่อ ๆ มา บอกอาการให้หมอฟัง; บ่งให้รู้ เช่น สัญญาณบอกเหตุร้าย อีกาบอกข่าว; แนะนำ เช่น บอกให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้, สอน เช่น อย่าบอกหนังสือสังฆราช; รายงาน เช่น ใบบอก.

จุกช่องล้อมวง

หมายถึง(โบ) ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินในเวลาเสด็จประพาสหรือในเหตุบางประการเช่นเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงพระประชวร. (จุกช่อง คือ จัดคนให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง ล้อมวง คือ จัดคนให้ล้อมที่ประทับเป็นชั้น ๆ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ