ค้นเจอ 323 รายการ

สนามวัด

หมายถึงน. สถานที่ที่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมแต่ละสำนักได้กำหนดให้เป็นที่ทดสอบบาลีก่อนที่จะส่งเข้าสอบบาลีสนามหลวง.

จาตุ,จาตุ-

หมายถึงว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.

ไวพจน์

หมายถึง(โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล ที่ในปัจจุบันเรียกว่า คำพ้องเสียง

คาถา

หมายถึงน. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.

ธรรมันเตวาสิก

หมายถึง[ทำมัน-] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).

อักษรศาสตร์

หมายถึง[อักสอระสาด, อักสอนสาน] น. วิชาการหนังสือ เน้นในด้านภาษาและวรรณคดี.

เยอรมัน

หมายถึงน. ชื่อประเทศ ชนชาติ และภาษาของชาวยุโรปชาติหนึ่งที่อยู่ทางทิศตะวันตกของภาคพื้นยุโรป.

พยัต

หมายถึง[พะยัด] น. ผู้เรียน, ผู้รู้. ว. ฉลาด, เฉียบแหลม. (ป. พฺยตฺต, วฺยตฺต; ส. วฺยกฺต).

ข่า

หมายถึงน. คนชาวเขาจำพวกหนึ่ง แบ่งออกเป็น ๒ พวก พวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร เช่น ข่าอัตตะปือ ข่าตองเหลือง และอีกพวกหนึ่งพูดภาษาในตระกูลอินโดนีเซียน ได้แก่ ข่าระแด และ ข่าจะราย.

รัสสระ

หมายถึง[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).

ทีฆสระ

หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.

ปริ,ปริ-,ปริ-

หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ