ค้นเจอ 129 รายการ

น้ำนมราชสีห์

หมายถึงน. (๑) กล้วยชนิดหนึ่ง ผลคล้ายกล้วยกรัน สุกรสหวานเย็น มีกลิ่นหอม. (พจน. ๒๔๙๓). (๒) ชื่อไม้ล้มลุกขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Euphorbia วงศ์ Euphorbiaceae ใบออกตรงข้ามกัน ทุกส่วนมียางขาวคล้ายนํ้านม ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด E. hirta L. ต้นและใบมีขน.

โมงโมง,โมง

หมายถึงน. วิธีนับเวลาตามประเพณีในเวลากลางวัน, ถ้าเป็นเวลาก่อนเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๗ นาฬิกา ถึง ๑๑ นาฬิกา เรียกว่า โมงเช้า ถึง ๕ โมงเช้า, ถ้าเป็น ๑๒ นาฬิกา นิยมเรียกว่า เที่ยงวัน, ถ้าหลังเที่ยงวัน ตั้งแต่ ๑๓ นาฬิกา ถึง ๑๗ นาฬิกา เรียกว่า บ่ายโมง ถึง บ่าย ๕ โมง, ถ้า ๑๘ นาฬิกา นิยมเรียกว่า ๖ โมงเย็น หรือ ยํ่าคํ่า.

ตุ๋ยตุ่ย

หมายถึงน. ชื่อว่าวชนิดหนึ่ง คล้ายว่าวจุฬา แต่หัวไม่ยาว มีไม้ยื่นออกไปสำหรับผูกคันธนู เมื่อถูกลมพัด ใบธนูที่ทำด้วยใบลานจะพลิกหมุนกลับไปมาทำให้เกิดเสียงคล้ายเสียงเพลง นิยมเอาว่าวขึ้นในเวลาเย็น แล้วเอาเชือกผูกไว้ตามต้นไม้เป็นต้นเพื่อฟังเสียงในเวลากลางคืน.

สัมผัส

หมายถึงก. ถูกต้อง, แตะต้อง, กระทบกัน, เช่น มีใครมาสัมผัสไหล่ พยายามให้เท้าสัมผัสหญ้าเสียบ้าง จะได้มีสุขภาพดี สัมผัสมือกัน; คล้องจองกัน เช่น คำในกลอนบทนี้สัมผัสกันดี. น. การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก เช่น ประสาทสัมผัส, การแตะต้อง, การกระทบกัน, เช่น พอออกไปข้างนอกก็สัมผัสอากาศเย็นเฉียบ; ความคล้องจองของถ้อยคำ เช่น ในนํ้ามีปลาในนามีข้าว; (วรรณ) ข้อบังคับที่ใช้ในฉันทลักษณ์เพื่อให้เสียงรับกัน. (ป. สมฺผสฺส; ส. สํสฺปรฺศ).

ลมมรสุม

หมายถึงน. (ภูมิ) ลมที่เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดินกับพื้นน้ำ ในฤดูหนาวอุณหภูมิของพื้นดินเย็นกว่าอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ำจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศจากพื้นดินจึงพัดเข้าไปแทนที่ทำให้เกิดเป็นลมพัดออกจากทวีป ส่วนในฤดูร้อนอุณหภูมิของพื้นดินร้อนกว่าน้ำในมหาสมุทร จึงทำให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกันข้าม, พายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก.

มงคล,มงคล-

หมายถึง[มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).

ทิ้ง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วยอาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อหนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่า ปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกันเสียไกล พูดทิ้งไว้ที.

นาย

หมายถึงน. (กฎ) คำนำหน้าชื่อชายที่มีอายุตั้งแต่ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป; ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่; ผู้เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าในกิจการนั้น ๆ เช่น นายตรวจ นายทะเบียน, ผู้ควบคุม เช่น นายหมู่ นายหมวด, ผู้ชำนาญในกิจการนั้น ๆ เช่น นายไปรษณีย์ นายช่าง; (ปาก) ใช้นำหน้ายศทหารตำรวจ เช่น นายพล นายพัน นายร้อย นายสิบ, คำนำหน้าตำแหน่ง เช่น นายม้าต้น; เมื่อใช้เป็นคำนำราชทินนาม เป็นบรรดาศักดิ์ของข้าราชการในราชสำนักในสมัยก่อนเลิกบรรดาศักดิ์ เช่น นายนรินทร์ธิเบศ นายมหานุภาพ นายสุจินดา นายวรการบัญชา. (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย ใช้สำหรับเพื่อนฝูงในลักษณะที่เป็นกันเอง เช่น เย็นนี้นายจะไปด้วยไหม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒.

ตก

หมายถึงก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลงมา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ดเกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้นมา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดูหนาว; เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูกแดดเป็นต้นว่า สีตก; ได้, ถึง, เช่น ตกทุกข์ ตกระกำลำบาก; มาถึง เช่น คำสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว; ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก; เขียนคำที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ; ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถ ตกเรือ; เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอาเป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัว ยอมแพ้ หรือหมดกำลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ