ค้นเจอ 135 รายการ

ชะมด

หมายถึงน. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Viverridae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับอีเห็นและพังพอน หน้าแหลม รูปร่างเพรียว สีเทาหรือนํ้าตาล มีลายจุดสีดำตามยาวทั่วตัว หางและขนหางยาว มีลายเป็นปล้อง มีต่อมกลิ่นใกล้เครื่องเพศ มักออกหากินในเวลากลางคืน ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ชะมดเช็ด (Viverricula malaccensis) เป็นชนิดที่ใช้นํ้ามันจากต่อมกลิ่นทำเครื่องหอม, ชะมดแผงหางปล้อง (Viverra zibetha), ชะมดแผงสันหางดำ (V. megaspila), อีสานเรียก เห็นอ้ม.

เห่า

หมายถึงน. ชื่องูพิษในสกุล Naja วงศ์ Elapidae ขนาดยาวประมาณ ๑.๓ เมตร พบหลายสีต่างกันไปในแต่ละตัว เช่น ดำ นํ้าตาล เขียวอมเทา เหลืองหม่น บางตัวมีลายสีขาวและบางตัวไม่มีลาย สามารถยกตัวท่อนหัวตั้งขึ้นและแผ่บริเวณคอกว้างออกได้ เรียกว่า แผ่แม่เบี้ย มีหลายชนิด เช่น เห่าไทย (N. kaouthia) ซึ่งตัวที่มีสีคลํ้า เรียก เห่าหม้อ, เห่าด่างพ่นพิษ (N. atra) ซึ่งสามารถพ่นฉีดพิษออกจากเขี้ยวพิษได้.

แซงแซว

หมายถึงน. ชื่อนกในวงศ์ Dicruridae ขนสีดำหรือเทาเป็นมัน ตาสีแดง หางเรียวยาว กินแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น แซงแซวหางปลา (Dicrurus macrocercus), ชนิดที่มีขนหาง ๑ คู่ เป็นก้านยาวออกไปตรงปลายแผ่ออกเป็นแผ่นขน คือ แซงแซวหางบ่วงเล็ก (D. remifer) และแซงแซวหางบ่วงใหญ่ (D. paradiseus), ๒ ชนิดหลังนี้เรียกกันทั่วไปว่า แซงแซวหางบ่วง; เรียกสิ่งเช่นธงที่มีรูปเป็นแฉกเหมือนหางนกแซงแซวว่า ธงหางแซงแซว.

ชะโอน

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Siluridae มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวด้านหลังสีนํ้าตาลครีบต่าง ๆ มีจุดประสีเทาดำ เป็นพวกปลาเนื้ออ่อน มี ๒ ชนิด คือ ชนิด Ompok bimaculatus ซึ่งมีครีบหลัง ปากเชิดขึ้น เหนือครีบอกมีจุดกลมสีดำ ๑ จุด, เนื้ออ่อน โอน หน้าสั้น สยุมพร หรือ นาง ก็เรียก; และชนิด Kryptopterus apogon ไม่มีครีบหลัง ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีจุดดำบนลำตัว, เนื้ออ่อน แดง นํ้าเงิน หรือ นาง ก็เรียก.

หนวดพราหมณ์

หมายถึง[หฺนวดพฺราม] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Polynemus longipectoralis ในวงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลมมน ปากอยู่ตํ่า ตาเล็ก เกล็ดเล็กสากมือ ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญคือตรงส่วนล่างของครีบอกมีก้านครีบแยกเป็นเส้นยาวมากรวม ๗ เส้นยาวไม่เท่ากัน ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร พบบ้างในนํ้ากร่อยหรือทะเล.

ใบโพ

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Drepane วงศ์ Drepanidae ลำตัวสีเงิน สั้น กว้าง และแบนข้างมาก ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ครีบสีเหลืองอ่อน ครีบอกยาวเรียว ครีบท้องอยู่ในแนวหน้าครีบอก ครีบหางมีปลายเป็นเหลี่ยมมุมป้าน ชนิด D. punctata มีจุดดำที่ข้างตัวเรียงในแนวตั้งหลายแนว แต่ชนิด D. longimana มีแถบสีเทาเรียงในลักษณะเดียวกัน, ทั้ง ๒ ชนิดอาศัยอยู่ตามพื้นท้องนํ้าที่เป็นกรวดทรายใกล้แนวปะการัง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, แมลงปอ ก็เรียก.

สลาด

หมายถึง[สะหฺลาด] น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Notopterus notopterus ในวงศ์ Notopteridae รูปร่างคล้ายปลากราย หัวและลำตัวแบนข้างมาก ท้องเป็นสันคม ปากตํ่า สันหัวแอ่นลงเล็กน้อย ครีบหลังเด่นแต่มีขนาดเล็กเท่า ๆ กันกับครีบอก ครีบท้องเล็ก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบกลม พื้นลำตัวสีขาว หลังเทา ไม่มีจุดสีเด่นหรือลวดลายสีเข้มใด ๆ ขนาดยาวเพียง ๓๕ เซนติเมตร, ฉลาด หรือ ตอง ก็เรียก.

เนื้ออ่อน

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด มีฟันเล็กแต่แหลมคม ลำตัวแบนข้างมากบ้างน้อยบ้าง เช่น ชนิด Kryptopterus apogon, K. cryptopterus, K. bleekeri, K. limpok, Ompok bimaculatus, Siluroides hypophthalmus, Ceratoglanis scleronema ข้างท้องมักเป็นสีเงิน ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๒๐-๗๗ เซนติเมตร อาจมีหรือไม่มีครีบหลังก็ได้ บางชนิดลำตัวด้านหลังสีเทาอมเขียวหรือสีนํ้าตาล, มีชื่อไทยที่เรียกแตกต่างกันหรือซํ้าซ้อนกันระหว่างชนิด ได้แก่ ชะโอน โอน แดง นาง เกด ปีกไก่ นํ้าเงิน หน้าสั้น สยุมพร หรือ เซือม.

ดาบเงิน

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในวงศ์ Trichiuridae ได้แก่ ชนิด Trichiurus lepturus ซึ่งชุกชุมที่สุด ชนิด Tentoriceps cristatus, Eupleurogrammus muticus และ Lepturacanthus savala ทุกชนิดมีลักษณะคล้ายกันมาก คือมีหัวแหลมลาดตํ่าไปข้างหน้า ปลายปากล่างยื่นฟันคมแข็งแรง ตัวยาวมาก แบนข้าง เรียวแหลมเป็นเส้นไปทางหาง แต่ไม่มีครีบหาง ครีบหลังยาวเกือบตลอดแนวสันหลังยกเว้นใกล้หัว ครีบก้นเป็นเพียงแถวของหนามแข็งขนาดเล็กโผล่จากสันท้อง ไม่มีครีบท้องหรือมีแต่เล็กมาก ไม่มีเกล็ด ผิวหนังสีเงินหรือเทา, ดาบ ก็เรียก.

น้ำดอกไม้

หมายถึงน. ชื่อปลาทะเลทุกชนิดในสกุล Sphyraena วงศ์ Sphyraenidae ลำตัวค่อนข้างกลมยาว หัวแหลม คางล่างยื่น ปากกว้าง มีฟันคมแข็งแรง ตาโต เกล็ดเล็กบาง ขอบเรียบ มีครีบหลัง ๒ ตอน พื้นลำตัวมีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด แต่มักเป็นสีฟ้าเทา เช่น ชนิด S. forsteri หรือนํ้าตาลอมเหลือง เช่น ชนิด S. obtusata บ้างมีบั้งทอดขวางลำตัวเป็นระยะ ๆ เช่น ชนิด S. jello และ S. putnamiae บ้างก็มีจุดหรือแต้มดำ เช่น ชนิด S. barracuda ขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ ๓๐-๑๕๐ เซนติเมตร, สาก ก็เรียก.

ตะพัด

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus ในวงศ์ Osteoglossidae หรือชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศข้างเคียง เป็นปลาโบราณที่ยังมีพืชพันธุ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน ลำตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลังตรงโดยตลอด แนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหางมาก ขอบหางกลม เกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลำตัวเป็นสีเงินอมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร.

หัวตะกั่ว

หมายถึงน. (๑) ชื่อปลาขนาดเล็กหากินตามผิวนํ้าชนิด Aplocheilus panchax ในวงศ์ Cyprinodontidae พบทั้งในนํ้าจืดและนํ้ากร่อย ลำตัวกลมยาว หัวโตกว้าง มองด้านข้างเห็นปลายแหลม สันหัวแบน ปากซึ่งอยู่ปลายสุดเชิดขึ้น ตาโตและอยู่ชิดแนวสันหัว เกล็ดใหญ่ ครีบต่าง ๆ มีขอบกลม ครีบหลังมีขนาดเล็กอยู่ใกล้ครีบหาง พื้นลำตัวสีเทาอมเหลือง ครีบต่าง ๆ สีออกเหลือง โคนครีบหลังสีดำ ที่สำคัญคือมีจุดสีตะกั่วขนาดใหญ่โดดเด่นอยู่บนสันหัวระหว่างนัยน์ตา ขนาดยาวได้ถึง ๘ เซนติเมตร, หัวเงิน หรือ หัวงอน ก็เรียก. (๒) ดู ข้างเงิน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ