ค้นเจอ 134 รายการ

ธงชัยราชกระบี่ธุชน้อย

หมายถึงน. ชื่อธงมีลักษณะเป็นผ้าสีแดงรูปสี่เหลี่ยม มีภาพพระกระบี่คือหนุมานที่กลางผืนธง คันธงท่อนบนทำด้วยเหล็ก ยอดเรียวแหลมคร่ำทอง ท่อนล่างทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ติดกาบโลหะจำหลักเป็นภาพหนุมานจำนวน ๔ กาบมีหางนกยูงเป็นแพนเสียบที่แผ่นกาบ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ธงชัยราชกระบี่ยุทธ, ใช้เชิญนำกระบวนพยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับ ธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อย โดยธงชัยราชกระบี่ธุชน้อยอยู่ทางด้านซ้าย และธงชัยพระครุฑพ่าห์น้อยอยู่ทางด้านขวา.

โสตทัศนวัสดุ

หมายถึง[โสตะทัดสะนะวัดสะดุ, โสดทัดสะนะวัดสะดุ] (กฎ) น. งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพ โดยบันทึกลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใดอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก โดยใช้เครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการใช้วัสดุนั้น และหมายความรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย ถ้ามี.

สิ่งตีพิมพ์

หมายถึง(ไปร) น. ไปรษณียภัณฑ์ประเภทข้อความ รูป หรือรอยประดิษฐ์บนกระดาษ กระดาษแข็ง หรือวัสดุที่ใช้กันทั่วไปในกิจการพิมพ์ ซึ่งทำขึ้นเป็นหลายสำเนาเหมือนกันทุกประการ ด้วยกระบวนการทางเครื่องกลไก หรือการถ่ายภาพอันเกี่ยวข้องกับการใช้แม่พิมพ์ต้นแบบ กระดาษไข เนกาทีฟ หรือสิ่งอื่น ๆ ที่ใช้กันโดยทั่วไปในกิจการพิมพ์.

ป้าย

หมายถึงน. แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เช่น ป้ายชื่อห้างร้าน ป้ายจราจร; (กฎ) วัตถุที่แสดงหรือโฆษณาด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึก หรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น เพื่อแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้าหรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้.

รัว,รัว,รัว ๆ

หมายถึงก. ตีหรือยิงเป็นต้นเร็ว ๆ ทำให้เกิดเสียงดังถี่ ๆ เช่น รัวระฆัง รัวกลอง รัวปืนกล; อาการที่พูดเร็วจนลิ้นพันกัน ฟังไม่ได้ชัด เรียกว่า พูดลิ้นรัว. ว. ไหวถี่ ๆ เช่น ตัวสั่นรัว ๆ; ไม่ชัด, ไม่แจ่มแจ้ง, เช่น ข้อความรัว ภาพรัว ๆ เห็นรัว ๆ.

ติดตา

หมายถึงน. วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ด้วยการแซะตาของต้นที่ต้องการขยายพันธุ์ไปติดที่ต้นหรือกิ่งของอีกต้นหนึ่งที่เป็นชนิดเดียวกัน โดยกรีดเปลือกตรงที่ต้องการจะนำตาไปติดให้เผยออก สอดตาให้แนบกับเนื้อไม้ ใช้แถบพลาสติกพันให้แน่นเว้นเฉพาะส่วนที่เป็นตา. ก. ยังรู้สึกนึกเห็นภาพอยู่ไม่รู้เลือน; ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเช่นนั้น.

อัศวเมธ

หมายถึงน. ชื่อพระราชพิธีเพื่อประกาศพระบรมเดชานุภาพของพระราชาธิราชในวรรณคดีอินเดีย โดยจะทรงปล่อยม้าอุปการพร้อมทั้งกองทัพให้เข้าไปในประเทศต่าง ๆ ถ้าประเทศใดไม่ยอมอ่อนน้อมกองทัพจะเข้าโจมตี เมื่อครบ ๑ ปีแล้วกองทัพก็ยกกลับพร้อมทั้งพระราชาที่ถูกปราบ พระราชาธิราชก็จะจัดพระราชพิธีโดยฆ่าม้านั้นบูชายัญ เรียกว่า พิธีอัศวเมธ. (ส.).

ดู

หมายถึงก. ใช้สายตาเพื่อให้เห็น เช่น ดูภาพ ดูละคร, ระวังรักษา เช่น ดูบ้านให้ด้วย ไม่มีคนดูเด็ก, พินิจพิจารณา เช่น ดูให้ดี, ศึกษาเล่าเรียน เช่น ดูหนังสือ, เห็นจะ เช่น ดูจะเกินไปละ, ทำนาย เช่น ดูโชคชะตาราศี, ใช้ประกอบกริยา เพื่อให้รู้ให้เห็นประจักษ์แจ้ง เช่น คิดดูให้ดี ลองกินดู.

ส่ง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเคลื่อนพ้นจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เพื่อให้ถึงผู้รับหรือเป้าหมายด้วยอาการต่าง ๆ กัน เช่น ส่งข้าม ส่งผ่าน ส่งต่อ; หนุน ดัน หรือเสริมให้สูงขึ้น เช่น คนอยู่ข้างล่างช่วยส่งก้นคนข้างบนให้ปีนพ้นกำแพง ติดไม้ปั้นลมส่งหลังคาเรือน; แสดงอัธยาศัยในเมื่อมีผู้จะจากไป เช่น ไปส่ง เลี้ยงส่ง; อาการที่ส่งเครื่องหมาย ข้อความ ข่าวสาร หรือภาพ เป็นต้น ไปให้อีกฝ่ายหนึ่งโดยอาศัยกรรมวิธีต่าง ๆ เช่น ส่งสัญญาณ ส่งรหัส ส่งโทรเลข ส่งวิทยุ ส่งโทรภาพ.

พิมพ,พิมพ-,พิมพ์

หมายถึง[พิมพะ-] น. รูป, รูปร่าง, แบบ, เช่น หยอดวุ้นลงในพิมพ์ หน้าตาเป็นพิมพ์เดียวกัน. ก. ถ่ายแบบ, ใช้เครื่องจักรกดตัวหนังสือหรือภาพเป็นต้นให้ติดบนวัตถุ เช่นแผ่นกระดาษ ผ้า, เช่น พิมพ์ผ้า พิมพ์ขนมเป็นรูปต่าง ๆ, (กฎ) ทำให้เป็นตัวหนังสือหรือรูปรอยอย่างใด ๆ โดยการกดหรือการใช้พิมพ์หิน เครื่องกล วิธีเคมี หรือวิธีอื่นใดอันอาจให้เกิดเป็นสิ่งพิมพ์ขึ้นหลายสำเนา. (ป., ส.).

ศิลปะ,ศิลป-,ศิลป์,ศิลป์,ศิลปะ

หมายถึง[สินละปะ-, สิน, สินละปะ] น. ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร, เช่น เขาทำดอกไม้ประดิดประดอยอย่างมีศิลปะ ผู้หญิงสมัยนี้มีศิลปะในการแต่งตัว รูปสลักวีนัสเป็นรูปศิลป์; การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น เช่น ศิลปะการดนตรี ศิลปะการวาดภาพ ศิลปะการละคร วิจิตรศิลป์. (ส. ศิลฺป; ป. สิปฺป ว่า มีฝีมืออย่างยอดเยี่ยม).

บันทึก

หมายถึงก. จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, จดหรือถ่ายทำไว้เพื่อช่วยความจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, เช่น บันทึกรายงานการประชุม บันทึกภาพ บันทึกเสียง, จดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; ย่นย่อ, ทำให้สั้น, เช่น บันทึกมรรคา. น. ข้อความที่จดไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน, ข้อความที่นำมาจดย่อ ๆ ไว้เพื่อให้รู้เรื่องเดิม; (กฎ) หนังสือที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ