ค้นเจอ 151 รายการ

โสดา,โสดา,โสดาบัน

หมายถึงน. “ผู้แรกถึงกระแสธรรม (พระนิพพาน)” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นต้นใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระโสดา. (ป. โสตาปนฺน; ส. โสฺรตสฺ + อาปนฺน).

กิรินท

หมายถึง[-ริน] (แบบ) น. ช้างสำคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).

ธนาณัติ

หมายถึงน. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).

กัณฐชะ

หมายถึง(ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากเพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดจากเส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา. (ป.; ส. กณฺวฺย).

เหนือ

หมายถึง[เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอำนาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือเหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.

จระกล้าย

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).

อรัญญิก

หมายถึงน. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม). ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อารญฺก ว่า เกี่ยวกับป่า).

อรูปฌาน

หมายถึง[อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).

ทุ่น

หมายถึงน. สิ่งที่ลอยนํ้าสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.

อาเทศ

หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).

สระ

หมายถึง[สะหฺระ] น. เสียงพูดที่เปล่งออกมาโดยอาศัยการเคลื่อนไหวของลิ้นและริมฝีปากเป็นสำคัญ แต่ไม่มีการสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งในปาก เช่น เสียง อะ อา โดยทั่วไปจะออกเสียงสระร่วมกับเสียงพยัญชนะ หรือออกเสียงเฉพาะเสียงสระอย่างเดียวก็ได้, เสียงสระ ก็เรียก; ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงสระ เช่น ะ า, รูปสระ ก็เรียก. (ป. สร; ส. สฺวร).

ปะการัง

หมายถึงน. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกเดียวกับดอกไม้ทะเล แต่ละตัวมีรูปร่างทรงกระบอก ส่วนใหญ่มีขนาดเล็กอยู่รวมกันเป็นกระจุก สร้างหินปูนออกมาพอกทับถมกันเป็นโครงรูปร่างต่าง ๆ อาศัยและเจริญเติบโตในทะเลตื้นเขตร้อน ที่พบมากในน่านนํ้าไทย คือ ชนิด Porites lutea และ ปะการังเขากวาง ในสกุล Acropora, โครงสร้างของตัวปะการังที่เกาะติดอยู่กับที่และมีซากปะการังตายทับถมเพิ่มพูนขึ้นตามลำดับ เรียกว่า หินปะการัง, ถ้ามากจนเป็นโขด เกาะ หรือ เทือก ก็เรียกว่า โขดปะการัง เกาะปะการัง หรือ เทือกปะการัง, บางทีเรียกเป็น กะรัง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ