ค้นเจอ 131 รายการ

เค้าสนามหลวง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สำนักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมืองซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมืองข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของเมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.

ทลาย

หมายถึง[ทะ-] ก. อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย ทลายกำแพง, มักใช้เข้าคู่กับคำ พัง เป็น พังทลาย, โดยปริยายหมายความว่า ล้มเหลว ไม่ได้ดังหวัง เช่น ความฝันพังทลาย วิมานทลาย.

แวว

หมายถึงว. สุกใส, วูบวาบ, เช่น ดวงตาฉายแววแห่งความสุข ขัดหัวเข็มขัดเสียแวว เพชรซีกมีแววน้อยกว่าเพชรลูก. น. ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าจะเป็นคนชนิดไร, เค้า, ร่องรอย, เช่น เด็กคนนี้มีแววจะเป็นนักปราชญ์ต่อไป เขาไม่มีแววว่าจะสอบได้; (ศิลปะ) กระจกเงาที่ตัดเป็นวงกลม ๆ เล็ก ๆ ใช้ติดตกแต่งเป็นไส้ลวดลายปูนปั้นหรืองานไม้แกะสลักปิดทอง.

ราบ

หมายถึงว. เรียบเสมอพื้นไม่มีลุ่ม ๆ ดอน ๆ เช่น ที่ราบ ราบเป็นหน้ากลอง, โดยปริยายหมายความว่า หมดสิ้น เช่น หญ้าตายราบ ปราบศัตรูเสียราบ; ล้มระเนระนาด เช่น พายุพัดป่าราบ; เรียกทหารเดินเท้าว่า ทหารราบ, เรียกชายฉกรรจ์ที่อายุครบเข้าประจำการทหาร.

กราน

หมายถึง[กฺราน] ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู. (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง. (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี.

รอย

หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นเส้น เป็นริ้ว หรือลวดลายเป็นต้นที่ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น รอยขีด รอยหน้าผากย่น รอยพระบาท รอยต่อ รอยประสาน; เค้า, เค้าเงื่อน, เช่น แกะรอย ตามรอย; โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รอยรัก, ทาง เช่น มารอยเดียวกัน; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นรอย เช่น พระบาท ๔ รอย มีรอยต่อ ๓ รอย. (กลอน) ว. เห็นจะ, ชะรอย.

ประคอง

หมายถึงก. พยุงให้ทรงตัวอยู่ เช่น ประคองตัวเอง, ช่วยพยุงไม่ให้เซไม่ให้ล้มเป็นต้น เช่น ประคองคนเจ็บให้ลุก ประคองคนแก่เดิน, ระมัดระวังไม่ให้หกหรือพลั้งพลาด เช่น ประคองชามแกงให้ดี, โอบรัดเบา ๆ เช่น หนุ่มสาวเดินประคองกันไป; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ประคองสถานการณ์บ้านเมืองไว้ให้ดี.

ค้าว

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดำ คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.

อุตตานภาพ

หมายถึง[อุดตานะพาบ] (กลอน) ก. นอนหงาย เช่น รวบพระกรกระหวัดทั้งซ้ายขวาให้พระนางอุตตานภาพ. (ม. ร่ายยาว กุมาร), เขียนเป็น อุตตานะภาพ ก็มี เช่น ฉวยกระชากชฎาเกษเกล้าให้นางท้าวเธอล้มลงอุตตานะภาพ. (ม. กาพย์ กุมารบรรพ). (ป. อุตฺตาน ว่า หงาย + ภาว).

ยัน

หมายถึงก. ต้านไว้, ทานไว้, ดันไว้, เช่น ยันประตูไว้ไม่ให้ล้ม, ค้ำไว้ เช่น ถือไม้เท้ายันกาย, ดันตัวขึ้น เช่น เอามือยันตัวลุกขึ้นจากพื้น; จด เช่น เอาหลังยันกัน นอนหัวยันฝา โตจนตัวยันเปล; ประจัน เช่น ตั้งกองทัพยันกัน; ยืนยัน เช่น เขายันว่าเขาไม่ได้ทำผิด; (ปาก) ถีบ เช่น เดี๋ยวยันเปรี้ยงเข้าให้. (ปาก) ว. เสมอ, ตลอด, เช่น โกหกยันเลย นอนยันเลย. สัน. จนถึง, กระทั่งถึง, เช่น เที่ยวยันสว่าง.

ตั้ง

หมายถึงก. ชูตัว, ชูตัวหรือทำให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าวเอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดำรง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทำให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตำแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้งเปรียญ; กำหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสำรับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คำแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ