ค้นเจอ 979 รายการ

อิด

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน, พายัพ) ก. โรยแรง, อ่อนกำลัง, อ่อนแรง.

ผักหนอก

หมายถึง[-หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)].

เสียตัว

หมายถึงก. ถูกชายร่วมประเวณี (ใช้แก่ผู้หญิง), เสียเนื้อเสียตัว ก็ว่า; (ถิ่น-อีสาน) ตาย.

กะดุ้ง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องมือจับสัตว์นํ้าชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายยอยก, เรียกเป็นสามัญว่า สะดุ้ง.

กินบุญ

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน, ชาวไทยอิสลาม) ก. กินเลี้ยงในงานทำบุญ.

ข้าวปาด

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ขนมชนิดหนึ่ง คล้ายขนมเปียกปูน แต่เหนียวมาก.

เขื่อง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่.

เจียง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ; อีสาน) น. เดือนแรกของปีนับทางจันทรคติ คือ เดือนอ้าย.

ออนซอน,อ่อนซอน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ว. งาม; เพราะพริ้ง, ซาบซึ้งตรึงใจ. (เพี้ยนมาจาก อรชร).

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

ภาษาปาก

หมายถึงน. ภาษาพูดที่แสดงความคุ้นเคย ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นพิธีรีตอง เช่น ตาแป๊ะ ตะบี้ตะบัน เทน้ำเทท่า.

ภาษาคำติดต่อ

หมายถึงน. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำบางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยวเนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ