ค้นเจอ 271 รายการ

อภิลักขิตกาล

หมายถึงน. เวลาที่กำหนดไว้, วันกำหนด, (มักนิยมใช้แก่วันทำบุญคล้ายวันเกิดหรือวันทำพิธีประจำปี).

กุเวร

หมายถึง[-เวน] น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศอุดร, ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. (ป., ส.).

หนังสือเดินทาง

หมายถึงน. หนังสือสำคัญประจำตัวซึ่งทางราชการของประเทศหนึ่งออกให้แก่พลเมืองของประเทศนั้น เพื่อให้ความคุ้มครองในการเดินทางไปในดินแดนต่างประเทศ.

วิทยุเคลื่อนที่

หมายถึงน. วิทยุคมนาคมระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมแบบเคลื่อนที่ได้กับสถานีวิทยุคมนาคมแบบประจำที่ หรือระหว่างสถานีวิทยุคมนาคมแบบเคลื่อนที่ได้ด้วยกันเอง.

อยู่อัตรา

หมายถึง(โบ) ว. เป็นปรกติ, เป็นประจำ, เช่น ให้เพิ่มพูนปรนนิบัติอยู่อัตรา. (กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติ ร. ๓), (ปาก) เป็นอัตรา.

ภูมิอากาศ

หมายถึงน. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใดแห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษก็ได้.

เมขลา

หมายถึง[เมกขะหฺลา] น. ชื่อนางเทพธิดาประจำสมุทร. (ป.; ส. เมขลา ว่า สายรัดเอว, เข็มขัดสตรี).

ส่งส่วย

หมายถึงก. ส่งเงินเป็นต้นให้เป็นประจำตามที่ตกลงกัน (มักใช้ในทางไม่สุจริต) เช่น ผู้ลักลอบเล่นการพนันต้องส่งส่วยให้พวกนักเลงเจ้าถิ่น.

ส่งพระเคราะห์

หมายถึง(โหร) ก. ทำพิธีส่งเทวดาประจำดาวพระเคราะห์ดวงที่กำลังจะสิ้นสุดการเสวยอายุเพื่อความสวัสดิมงคลตามความเชื่อทางโหราศาสตร์.

ผู้ขับขี่

หมายถึง(กฎ) น. ผู้ขับรถ ผู้ประจำเครื่องอุปกรณ์การขนส่งตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่ง ผู้ลากเข็นยานพาหนะ.

ทัณฑกรรม

หมายถึง[ทันดะ-] น. การลงโทษ, โทษที่ลงแก่สามเณรที่ประพฤติผิด; (กฎ) ทัณฑ์สถานหนึ่งตามกฎหมายว่าด้วยวินัยทหารและกฎหมายว่าด้วยวินัยตำรวจ คือ ให้ทำงานโยธา งานสุขาภิบาล หรืองานอื่นของราชการ เพิ่มจากหน้าที่ประจำซึ่งตนจะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว หรือปรับให้อยู่เวรยามนอกจากหน้าที่ประจำ. (ส.).

วามน,วามน-

หมายถึง[วามะนะ-] น. คนเตี้ย, คนค่อม; ชื่อช้างประจำทิศใต้. ว. เตี้ย, สั้น, ค่อม. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ