ค้นเจอ 208 รายการ

ครหา

หมายถึง[คะระหา, คอระหา] ก. ติเตียน, ติโทษ. (ป., ส. คฺรหา).

ชาติพันธุ์

หมายถึง[ชาดติพัน] น. กลุ่มที่มีพันธะเกี่ยวข้องกัน และที่แสดงเอกลักษณ์ออกมา โดยการผูกพันลักษณาการของเชื้อชาติและสัญชาติเข้าด้วยกัน. (อ. ethnos).

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

ฉพีสติม,ฉพีสติม-

หมายถึง[ฉะพีสะติมะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒๖ เช่น ฉพีสติมสุรทิน ว่า วันที่ ๒๖ (แห่งเดือนสุริยคติ). (ป.).

โสดาปัตติมรรค

หมายถึง[-ปัดติมัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน. (ป. โสตาปตฺติมคฺค; ส. โสฺรตสฺ + อาปตฺติ + มารฺค).

ฉันวุติ

หมายถึง[ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).

ชิตินทรีย์

หมายถึง[ชิตินซี] (แบบ) น. ผู้มีอินทรีย์อันชนะแล้ว, ผู้สำรวมอินทรีย์. (ป., ส. ชิตนฺทฺริย).

ปฏิญญา

หมายถึง[ปะตินยา] น. การให้คำมั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.).

มติ

หมายถึง[มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).

นิยัตินิยม

หมายถึง[นิยัดติ-] น. ลัทธิความเชื่อที่ว่า การกระทำทุกอย่างของมนุษย์หรือเหตุการณ์ทั้งหลายได้ถูกกำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว. (อ. determinism).

อนวัช,อนวัช-

หมายถึง[อะนะวัด, อะนะวัดชะ-] ว. ไม่มีโทษ, ไม่มีที่ติ, ไม่มีตำหนิ, เช่น อนวัชกรรม คือ กรรมที่ไม่มีโทษ. (ป. อนวชฺช).

ปรกติ

หมายถึง[ปฺรกกะติ] ว. ธรรมดา เช่น ตามปรกติ, เป็นไปตามเคย เช่น เหตุการณ์ปรกติ, ไม่แปลกไปจากธรรมดา เช่น อาการปรกติ, ปกติ ก็ว่า. (ส. ปฺรกฺฤติ; ป. ปกติ).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ