ค้นเจอ 207 รายการ

แปรพระราชฐาน

หมายถึง[-พฺระราดชะถาน] (ราชา) ก. เปลี่ยนสถานที่ประทับไปอยู่ที่อื่นเป็นการชั่วคราว.

พระราชกฤษฎีกา

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน.

พระราชกำหนด

หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจบริหารให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติในกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของประเทศ หรือความปลอดภัยสาธารณะ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะหรือในระหว่างสมัยประชุมของรัฐสภาถ้ามีความจำเป็นต้องมีกฎหมายเกี่ยวด้วยการภาษีอากรหรือเงินตราซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโดยด่วนและลับ เพื่อรักษาประโยชน์ของแผ่นดิน.

พุทธศักราช

หมายถึง[พุดทะสักกะหฺราด] น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา.

ภาษาราชการ

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้สื่อสารในราชการและวิชาการเป็นต้น เช่น จดหมายติดต่อราชการ รายงานการประชุมของหน่วยงาน รายงานการวิจัย รายงานวิชาการสาขาต่าง ๆ, ภาษาระดับทางการ หรือ ภาษากึ่งแบบแผน ก็เรียก; ภาษาที่รัฐบาลประกาศให้ใช้เป็นทางราชการ เช่น ประเทศไทยใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ประเทศสิงคโปร์ใช้ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฮินดี และภาษามาเลย์ เป็นภาษาราชการ.

ราชสวัสดิ์

หมายถึงขนบที่ผู้รับใช้เบื้องพระยุคลบาทพึงกระทำ

สอนหนังสือสังฆราช,บอกหนังสือสังฆราช

หมายถึง(สำ) ก. สอนสิ่งที่เขารู้ดีอยู่แล้ว.

สุพรรณราช

หมายถึง[สุพันนะราด] (ราชา) น. กระโถนใหญ่, ใช้ว่า พระสุพรรณราช.

อปราชัย,อัปราชัย

หมายถึง[อะปะ-, อับปะ-] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).

รับเสด็จพระราชดำเนิน

หมายถึง(ราชา) ก. รับการเสด็จพระราชดำเนิน, ในการเขียนใช้ รับเสด็จพระราชดำเนิน หรือ รับเสด็จฯ ก็ได้.

ราช

หมายถึงน. สมณศักดิ์พระราชาคณะ สูงกว่าชั้นสามัญตํ่ากว่าชั้นเทพ เรียกว่าชั้นราช เช่น พระราชสุธี พระราชโมลี.

ราชญี

หมายถึง[ราดยี] (แบบ) น. ราชินี. (ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ