ค้นเจอ 302 รายการ

จรอก

หมายถึง[จะหฺรอก] (กลอน) น. ทาง, ทางแคบ, ทางเล็ก, ตรอก, ซอก, เช่น มาคะคล้ายโดยทาง ถับถึงกลางจรอกปู่. (ลอ), บ้างก็นั่งในท่าน้ำบ้างก็ค้ำกันไปนั่งในจรอก. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จฺรก).

แม้น

หมายถึงสัน. แม้ เช่น แม้นมิไปช่วยจะม้วยมอด ด้วยสังข์ทองไม่ถอดรูปเงาะป่า. (สังข์ทอง).

ล่าม

หมายถึงก. ผูกโดยวิธีให้เคลื่อนย้ายได้บ้างในที่จำกัด เช่น ล่ามโซ่ ล่ามวัวล่ามควาย.

ปรึง

หมายถึง[ปฺรึง] ว. อย่างเร่งรีบ, เต็มที่, เช่น บ้างควบปรึงตะบึงไปไม่รอรั้ง. (อิเหนา). (ข. บฺรึง).

กำแพงมีหูประตูมีตา

หมายถึง(สำ) น. การที่จะพูดหรือทำอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.

วันดีคืนดี

หมายถึง(ปาก) น. โอกาสเหมาะ, มักใช้พูดแสดงเวลาที่ไม่แน่นอน เช่น หายหน้าไปนาน วันดีคืนดีก็มา.

นิรัพพุท

หมายถึง[-รับพุด] น. สังขยาจำนวนสูง เท่ากับ ๑ มี ๐ ตามหลัง ๖๓ ตัว บ้างว่า ๑๐๐ ล้าน. (ป.).

ห้วย

หมายถึงน. แอ่งน้ำลึกกว้างมีทางน้ำไหลจากภูเขามาขังอยู่ตลอดปี หรือแห้งบ้างเป็นบางคราว.

ราไฟ

หมายถึงก. ทำให้ไฟอ่อนลงโดยคีบถ่านหรือชักฟืนออกเสียบ้าง, ราฟืนราไฟ ก็ว่า.

กระเพิง

หมายถึงน. เพิง, สิ่งที่ยื่นเป็นเพิง, เช่น บ้างก็เป็นกระพักกระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

กุ๊น

หมายถึงก. ขลิบเย็บหุ้มริมผ้าหรือของอื่น ๆ ใช้แถบผ้าย้วยหรือเฉลียงเย็บหุ้ม ๒ ข้างเม้มเข้าเป็นตะเข็บกลมบ้างแบนบ้าง มักใช้ที่คอเสื้อหรือชายเสื้อเป็นต้น.

ปฐมเทศนา

หมายถึง[ปะถมมะเทสะนา, ปะถมมะเทดสะหฺนา, ปะถมเทดสะหฺนา] น. เทศนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตนสูตร; ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิบ้าง นั่งห้อยพระบาทอย่างนั่งเก้าอี้บ้าง เครื่องหมายสำคัญอยู่ที่พระหัตถ์ขวา ทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม ส่วนพระหัตถ์ซ้ายวางหงายอยู่บนพระเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง ทำท่าทางประคองพระหัตถ์ขวาบ้าง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ