ค้นเจอ 297 รายการ

กรรสะ

หมายถึง[กัน-] (ราชา) ก. ไอ, ใช้ว่า ทรงพระกรรสะ. (ป. กาส; ส. กาศ).

ขุนหลวง

หมายถึง(โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).

สุขุมาล

หมายถึง[สุขุมาน] ว. ละเอียดอ่อน, อ่อนโยน, นุ่มนวล; ผู้ดี, ตระกูลสูง. (ป.; ส. สุกุมาร).

อุปเวท

หมายถึง[อุปะเวด, อุบปะเวด] น. คัมภีร์ “พระเวทรอง” ของอินเดียโบราณ เนื้อหามีลักษณะเป็นวิทยาการ ไม่นับว่าเป็นคัมภีร์ศาสนา ได้แก่ อายุรเวท (วิชาแพทย์ ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์อถรรพเวทหรืออาถรรพเวท) ธนุรเวท (วิชายิงธนูและการใช้อาวุธอื่น ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์ยชุรเวท) คันธรรพเวทหรือคานธรรพเวท (วิชาการดนตรี ถือว่าเป็นสาขาของคัมภีร์สามเวท) และสถาปัตยเวท (วิชาการก่อสร้าง ไม่ระบุว่าเป็นสาขาของคัมภีร์พระเวทใด). (ส.).

กฎหมายเหตุ

หมายถึงน. จดหมายเหตุ. (พงศ. ประเสริฐ); (กฎ; โบ) กฎเกณฑ์การปฏิบัติที่ตราขึ้นหรือเนื่องจากประเพณีซึ่งมีค่าบังคับ.

สุญญากาศ

หมายถึง[สุนยากาด] น. ที่ที่ไม่มีอากาศ เช่น อยู่ในสุญญากาศ. ว. ที่ไม่มีอากาศ เช่น ขวดสุญญากาศ หลอดสุญญากาศ.

ท้องขาว

หมายถึงน. เรียกผ้าที่มีส่วนกลางขาวว่า ผ้าท้องขาว เช่น ผ้าท้องขาวเชิงชายเขียน. (พงศ. เลขา), ถ้ามีส่วนกลางเขียว เรียกว่า ผ้าท้องเขียว เช่น ผ้าท้องเขียวชายกรวย. (พงศ. เลขา).

อธิกสุรทิน

หมายถึง[-สุระทิน] น. วันที่เพิ่มขึ้นในปีสุริยคติ คือ ในปีนั้นเพิ่มวันเข้าในเดือนกุมภาพันธ์อีก ๑ วัน เป็น ๒๙ วัน.

ขัค

หมายถึง(แบบ) น. ขรรค์ เช่น สุรขัคอนันต์. (สมุทรโฆษ). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).

เสียกล

หมายถึงก. พลาดไปเพราะรู้ไม่ทันเล่ห์กลของเขา เช่น บัดนี้สุครีพฤทธิรณ เสียกลกุมภัณฑ์ยักษา. (รามเกียรติ์).

สุคนธ์

หมายถึง[สุคน] น. กลิ่นหอม; เครื่องหอม, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องพระสุคนธ์. (ป., ส.).

ปัถวี

หมายถึง[ปัดถะ-] น. ท้ายเรือพิธี เช่น หางตาเรือก็กลับไปข้างปัถวี. (พงศ. เลขา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ