ค้นเจอ 173 รายการ

จตุราริยสัจ

หมายถึง[จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).

วิปัสสนา

หมายถึง[วิปัดสะนา] น. ความเห็นแจ้ง, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งในสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. (ป.).

ริ้วรอย

หมายถึงน. ลักษณะที่เป็นแนวเป็นทาง เช่น ถูกหนามเกี่ยวเป็นริ้วรอย ถูกแมวข่วนเป็นริ้วรอย, โดยปริยายหมายความว่า ร่องรอย เช่น หน้าตามีริ้วรอยแห่งความทุกข์.

เปลื้อง

หมายถึง[เปฺลื้อง] ก. เอาออก (ใช้แก่เครื่องแต่งตัวที่นุ่งห่มหรือคลุมอยู่), ทำให้หลุดพ้นเพื่อแบ่งเบาหรือให้หมดไป เช่น เปลื้องทุกข์ เปลื้องหนี้, ปลดเปลื้อง ก็ว่า.

งอมพระราม

หมายถึง(สำ) ว. มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ เช่น ทศกัณฐ์จะงอมพระรามที่ไหน เกรงพระรามจะงอมพระรามไปเองเสียอีก. (ลักวิทยา).

หิงสา

หมายถึงน. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

เจ้าทุกข์

หมายถึงน. ผู้ที่เสียหายได้รับทุกข์หรือเดือดร้อน, ผู้ที่ไม่มีความสุขใจ. ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์.

หึงส,หึงส-,หึงสา

หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).

ดูดำดูดี

หมายถึงก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดีเด็กคนนี้เลย.

อนิฏฐารมณ์

หมายถึง[อะนิดถารม] น. อารมณ์หรือสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าพอใจ ได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์, ตรงข้ามกับ อิฏฐารมณ์. (ป. อนิฏฺารมฺมณ).

เจตสิก

หมายถึง[เจตะ-, เจดตะ-] น. อารมณ์ที่เกิดกับใจ. ว. เป็นไปในจิต เช่น สุขหรือทุกข์ที่เกิดในจิต. (ป.; ส. ไจตสิก).

ชำงือ

หมายถึง(โบ) ก. คิดเป็นทุกข์, วิตก, ป่วย, เป็นไข้, เป็นโรค, เช่น ตาชุ่มชื่นชำงือใจ. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์). (ข. ชํงื ว่า ความไข้, ออกจาก; ฌื ว่า เจ็บ, ไข้).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ