ค้นเจอ 336 รายการ

คุณากร

หมายถึง[คุนากอน] น. บ่อเกิดแห่งความดี, ที่รวมแห่งความดี. (ป. คุณ + อากร).

นิเวศวิทยา

หมายถึง[นิเวดสะวิดทะยา, นิเวดวิดทะยา] น. วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับถิ่นที่อยู่และสิ่งแวดล้อม; (มานุษย) การศึกษาเกี่ยวกับการดัดแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม. (อ. ecology).

อุปการ,อุปการ-,อุปการ-,อุปการะ

หมายถึง[อุปะการะ-, อุบปะการะ-] น. ความช่วยเหลือเกื้อกูล, ความอุดหนุน, คู่กับ ปฏิการะ = การสนองคุณ, การตอบแทนคุณ. ก. ช่วยเหลือเกื้อกูล, อุดหนุน. (ป., ส.).

ทัศนศึกษา

หมายถึงก. ท่องเที่ยวเพื่อแสวงหาความรู้. น. การเรียนรู้ด้วยการดูการเห็น, การศึกษานอกสถานที่.

สิกขากาม,สิกขากาม-

หมายถึง[-กามะ-] ว. ผู้ใคร่ต่อการศึกษา, ผู้นับถือข้อบัญญัติโดยเคร่งครัด, สิกขกาม ก็ว่า เช่น สิกขกามบุคคล หมายถึง บุคคลที่ใคร่ต่อการศึกษา. (ป.).

สัทศาสตร์

หมายถึง[สัดทะ-] น. วิชาว่าด้วยการศึกษาธรรมชาติของการออกเสียงและการเปล่งเสียงพูด. (อ. phonetics).

สิกขาบท

หมายถึงน. ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (ป.).

เลี้ยงส่ง

หมายถึงก. เลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่จะจากไปอย่างเดินทางไปต่างประเทศเป็นต้น เช่น เลี้ยงส่งเพื่อนไปศึกษาต่างประเทศ.

เสมอ

หมายถึง[สะเหฺมอ] ก. เข้าข้าง, คาดว่าจะชนะ, เช่น มวยคู่นี้คุณจะเสมอฝ่ายไหน.

สาราณียกร

หมายถึง[-นียะกอน] น. ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของสมาคมหรือสถาบันการศึกษาเป็นต้น ทำหน้าที่อย่างบรรณาธิการ.

สรรพคุณ

หมายถึงน. คุณสมบัติของสิ่งที่เป็นยา, โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติ เช่น เขามีสรรพคุณเชื่อถือได้. (ส. สรฺว + คุณ).

วิจักษ์

หมายถึงน. ความเข้าใจและตระหนักในคุณค่าของศิลปกรรมและวรรณกรรม, ความนิยม, ความซาบซึ้ง, เช่น วรรณคดีวิจักษ์. (อ. appreciation).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ