ค้นเจอ 156 รายการ

ภาษาธรรม

หมายถึงน. ภาษาที่ใช้มีความหมายในทางธรรม ต่างกับความหมายที่ชาวบ้านใช้ เช่น คำว่า เวทนา ในภาษาธรรมหมายถึง การเสวยอารมณ์ที่เป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเฉย ๆ แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง สงสารสลดใจ หรือคำว่า สงสาร ในภาษาธรรมหมายถึง การเวียนว่ายตายเกิด แต่ชาวบ้านใช้หมายถึง รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น.

ผจญ,ผจัญ

หมายถึง[ผะจน, ผะจัน] ก. พยายามต่อสู้, พยายามเอาชนะ, เช่น มารผจญ, ต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะ เช่น ผจญความทุกข์ยาก ผจญอุปสรรค, ประจญ หรือ ประจัญ ก็ว่า. (ข. ผฺจาญ่ ว่า ทำให้แพ้).

ชีพุก

หมายถึงน. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คำหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).

เห็นใจ

หมายถึงก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ยากของผู้อื่น เช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.

สิ้นกรรม,สิ้นกรรมสิ้นเวร,สิ้นเวร,สิ้นเวรสิ้นกรรม

หมายถึงก. สิ้นสุดในการที่ต้องรับทุกข์อีกต่อไป เช่น เมื่อเขามีชีวิตอยู่ มีภาระมากหรือเจ็บป่วยทรมาน ตายไปก็ถือว่าสิ้นเวรสิ้นกรรม, หมดกรรม หมดกรรมหมดเวร หมดเวร หรือ หมดเวรหมดกรรม ก็ว่า; (ปาก) ตาย.

พ้น

หมายถึงก. อาการที่ผ่านหรือหลุดเป็นต้นออกไปอยู่นอกเขตหรือเลยที่กำหนดไว้ เช่น พ้นอันตราย พ้นกิเลส พ้นทุกข์ พ้นเกณฑ์ พ้นตัว พ้นบ้าน. ว. นอกเขตออกไป เช่น ข้ามพ้น บินพ้น ผ่านพ้น หลุดพ้น.

ก้านต่อดอก

หมายถึงน. ชื่อวิธีร้อยดอกไม้เป็นตาข่าย; ชื่อลายชนิดหนึ่ง; ชื่อกลบทชนิดหนึ่ง เช่น แสนถวิลเทวษว้าอาวรณ์สมร ทุกข์ระทมกรมทรวงดั่งศรรอน จะนั่งนอนมีแต่พรํ่ากำสรวลครวญ.

ทน

หมายถึงก. อดกลั้นได้, ทานอยู่ได้, เช่น ทนด่า ทนทุกข์ ทนหนาว, ไม่แตกหักหรือบุบสลายง่าย เช่น ของดีใช้ทน ไม้สักทนกว่าไม้ยาง. ว. แข็งแรง, มั่นคง, เช่น ฟันทน, อึด เช่น วิ่งทน ดำนํ้าทน.

นฤพาน

หมายถึง[นะรึ-] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จนฤพาน. (พงศ. กรุงเก่า). (ส. นิรฺวาณ; ป. นิพฺพาน).

เสี้ยน

หมายถึงน. เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หน่อไม้แก่มีเนื้อเป็นเสี้ยน; ข้าศึก เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน. (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนาฯ. (ตะเลงพ่าย).

เกรียม

หมายถึง[เกฺรียม] ว. เกือบไหม้, ลักษณะอาการของสิ่งบางอย่างที่ถูกความร้อนมีไฟเป็นต้นเผาจนเปลี่ยนสีเป็นสีนํ้าตาลเป็นต้น เช่น ทอดปลาจนเกรียม ถูกแดดเผาจนหน้าเกรียม, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เป็นทุกข์จนหน้าเกรียม.

อริยมรรค

หมายถึงน. ทางอันประเสริฐอันเป็นทางแห่งความดับทุกข์ มีองค์ ๘ มี สัมมาทิฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นต้น, ทางสายกลาง ก็เรียก, ทางดำเนินของพระอริยะ; ชื่อโลกุตรธรรมในพระพุทธศาสนา มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, คู่กับ อริยผล. (ป. อริยมคฺค).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ