ค้นเจอ 262 รายการ

ก้อย

หมายถึงน. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง; (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า.

กะต่า

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ตะกร้า, ตะกร้ามีหูหิ้ว; หูก.

กะทัน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).

กะบั้ง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. บ้องไม้ไผ่.

กินดอง

หมายถึงก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน. (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่งทำเมื่อผัวเมียมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง หรือไม่มีบุตร แต่ได้ทำพิธีแปลงออกครบ ๓ ปี.

แว่น

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และเรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่น-อีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีนเป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่วแผ่น เย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่นทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนามเรียกสิ่งกลม ๆ ที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.

เสด

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ปีจอ.

หนอก

หมายถึง[หฺนอก] (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นบัวบก. [ดู บัวบก (๑)].

หมากแข้ง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) น. ต้นมะเขือพวง, ต้นมะแว้ง. (ดู มะเขือพวง).

หยัง

หมายถึง(ถิ่น-อีสาน) ว. อะไร, ทำไม.

เหล่า

หมายถึง[เหฺล่า] น. พวก, ก๊ก, เช่น เหล่ามนุษย์ เหล่าสัตว์ เหล่าอันธพาล, กำลังพลของทหารซึ่งประกอบกับคำอื่นมีลักษณะเฉพาะของงาน เช่น เหล่าทหารปืนใหญ่ เหล่าทหารราบ; (ถิ่น-อีสาน) ที่ซึ่งเคยเพาะปลูกแล้วทิ้งให้ร้าง, (ถิ่น-พายัพ) ป่าละเมาะ. ว. ใช้ประกอบกับคำนามแสดงว่ามีจำนวนมาก เช่น คนเหล่านี้ ของเหล่านั้น.

โหวด

หมายถึง[โหฺวด] (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดหนึ่งของภาคอีสาน.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ