ค้นเจอ 3,068 รายการ

คำพ้องความ

หมายถึงคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า

ฉีกคำ

หมายถึงก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์.

ส่งสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไปว่า คำส่งสัมผัส.

สธุสะ,สาธุสะ

หมายถึงคำเปล่งขึ้นก่อนกล่าวคำอื่น เพื่อขอความสวัสดิมงคลอย่างเดียวกับคำ ศุภมัสดุ.

โอวาท

หมายถึง[-วาด] น. คำแนะนำ, คำตักเตือน, คำกล่าวสอน. (ป.).

ชักเงา

หมายถึงก. ทำให้เกิดเงา. ว. ที่ทำให้เกิดเงา เช่น นํ้ามันชักเงา.

ต้นเหตุ

หมายถึงน. คนหรือสัตว์เป็นต้นที่ทำให้เกิดเหตุเกิดเรื่อง.

สัญชาต,สัญชาต-

หมายถึง[-ชาตะ-, -ชาดตะ-] ว. เกิดเอง เช่น สัญชาตสระ ว่า สระที่เกิดเอง. (ป.).

ชาต,ชาต-,ชาตะ

หมายถึง[ชาตะ-] ก. เกิด. (ป.).

รู้คิด,รู้คิดรู้อ่าน

หมายถึงก. เข้าใจคิดตริตรอง เช่น เด็กบางคนรู้คิดรู้อ่านดีกว่าผู้ใหญ่.

ลูกขุนพลอยพยัก

หมายถึง(สำ) น. ผู้ที่คอยว่าตามหรือเห็นด้วยกับผู้ใหญ่เป็นเชิงประจบสอพลอเป็นต้น.

แก่แดด

หมายถึงว. ทำเป็นผู้ใหญ่เกินอายุ (มักใช้แก่เด็ก).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ