ค้นเจอ 2,335 รายการ

อิสร-

หมายถึง[อิดสะหฺระ-] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครองตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็นอิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).

วรรณึก

หมายถึงน. ผู้เขียน, ผู้ประพันธ์; เลขานุการ. (ส. วรฺณิก).

วศิน

หมายถึง(แบบ) น. ผู้ชำนะตนเอง, ผู้สำรวมอินทรีย์. (ส.).

หนี้สิน

หมายถึงน. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง.

ภาณี

หมายถึงน. ผู้สวด, ผู้กล่าว, ผู้บอก, คนช่างพูด, เพศหญิง ใช้ว่า ภาณินี.

อิสร

หมายถึง[อิดสะหฺระ-] ว. เป็นใหญ่, เป็นไทแก่ตัว, เช่น อิสรชน, ที่ปกครองตนเอง เช่น รัฐอิสระ, ไม่ขึ้นแก่ใคร, ไม่สังกัดใคร, เช่น อาชีพอิสระ นักเขียนอิสระ. น. ความเป็นไทแก่ตัว เช่น ไม่มีอิสระ แยกตัวเป็นอิสระ. (ป. อิสฺสร; ส. อีศฺวร).

ผู้ดูแลนักเรียน

หมายถึงน. ข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองนักเรียนในต่างประเทศ.

ผู้หลักผู้ใหญ่

หมายถึงน. ผู้มีอายุมาก เช่น โตจนเป็นผู้หลักผู้ใหญ่แล้วยังทำตัวเหลวไหล, ผู้ที่เป็นหัวหน้าในการงาน, บุคคลชั้นผู้บังคับบัญชา เช่น งานนี้มีผู้หลักผู้ใหญ่มากันมาก; บุคคลที่วางตัวหรือมีความคิดและความประพฤติเหมาะสมกับสถานภาพ เช่น แต่งงานแล้วดูเป็นผู้หลักผู้ใหญ่มากขึ้น.

บริพาร

หมายถึง[บอริพาน] น. ผู้แวดล้อม, ผู้รับใช้หรือผู้ห้อมล้อมติดตาม. (ป. ปริวาร).

ผู้ป่วยนอก

หมายถึงน. ผู้ป่วยที่มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาล แต่ไม่ได้นอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล, คนไข้นอก ก็ว่า.

ทูต

หมายถึงน. ผู้นำข้อความไปแจ้งทั้ง ๒ ฝ่าย, ผู้รับใช้ไปเจรจาแทน, ผู้สื่อสาร, ผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนไปยังต่างประเทศ เพื่อเจรจาหรือเจริญสันถวไมตรีเป็นทางราชการ. (ป.).

โฆษก

หมายถึง[โคสก] น. ผู้ประกาศ, ผู้โฆษณา, เช่น โฆษกสถานีวิทยุ; ผู้แถลงข่าวแทน เช่น โฆษกพรรคการเมือง. (ส.; ป. โฆสก ว่า ผู้ป่าวร้อง, ผู้โฆษณา).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ