ค้นเจอ 159 รายการ

คลัง

หมายถึง[คฺลัง] น. ไม้กระบอกที่ร้อยโซ่หรือเชือกสำหรับล่ามสัตว์หรือเรือ, (โบ) กลัง. ก. ผูกคอสัตว์ให้เข้าคู่กัน เพื่อไม่ให้พรากกัน หรือฝึกหัดตัวที่ไม่ชำนาญงาน เช่น เอาวัวไปผูกเข้าคู่กัน ว่า เอาวัวไปคลัง.

วิ่งรอก

หมายถึงก. อาการที่คนชักว่าววิ่งช่วยกันฉุดสายป่านโดยเอารอกทับเชือกเพื่อให้ว่าวจุฬาพาว่าวปักเป้าเข้ามาในแดนตน หรือเอารอกทาบเชือกเพื่อให้ว่าวปักเป้าทำให้ว่าวจุฬาเสียเปรียบ แล้วรอกให้ว่าวจุฬาตก; โดยปริยายหมายถึงอาการที่นักร้องหรือนักแสดงเป็นต้นไปแสดงตามที่ต่าง ๆ หลายแห่งในวันเดียวกันหรือคืนเดียวกันให้ทันกำหนดเวลา, อาการที่รถรับจ้างวิ่งรถเปล่าตระเวนหาผู้โดยสาร, เรียกว่า วิ่งรอก หรือ วิ่งกะรอก.

กวด

หมายถึงก. ทำให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู, เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็กเครื่องมือสำหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด.

ฉิ่ง

หมายถึงน. เครื่องตีกำหนดจังหวะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะหล่อหนา รูปร่างกลมคล้ายถ้วย เจาะรูตรงกลางไว้ร้อยเชือกให้เป็นคู่กันสำหรับถือตีบอกจังหวะเข้ากับดนตรี; ชื่อเพลงไทยประเภทหนึ่ง.

ว่าว

หมายถึงน. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสายซุงสำหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู.

ไม้คมแฝก

หมายถึงน. อาวุธชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ลักษณะเป็นท่อนยาวประมาณ ๑ ศอก ปลายหน้าตัดมีลักษณะเป็นเหลี่ยมอย่างขนมเปียกปูน ด้านมือจับจะลบเหลี่ยมออกและมีเชือกร้อยสำหรับคล้องข้อมือจับ.

กะชะ

หมายถึงน. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง ตั้งได้คล้ายตะกร้า รูปร่างสูงตรงขึ้นไป สำหรับบรรจุเครื่องเดินทาง เช่น ผ้าและอาหาร ปากไม่มีขอบ เพื่อบีบให้ติดกันแล้วร้อยเชือกแขวนไปบนหลังสัตว์บรรทุก เป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตะกร้าชนิดหนึ่ง.

พาน

หมายถึงก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคำ พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมาพานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.

ขาด

หมายถึงก. แยกออกจากกันเพราะถูกดึง ตัด หรือฉีก เป็นต้น เช่น เชือกขาด แขนขาด ผ้าขาด; ควรจะมีแต่ไม่มี เช่น เศรษฐีขาดไฟ; มีไม่ครบ, มีไม่เต็ม, เช่น ขาดคุณสมบัติ; ไม่ครบ, บกพร่อง, เช่น ศีลขาด; ไม่เต็มตามจำนวน เช่น นับเงินขาด; ไม่มาตามกำหนด เช่น ขาดเรียน ขาดประชุม.

ชักรอก

หมายถึงก. อาการที่ทำให้เส้นเชือกหรือเส้นลวดเคลื่อนผ่านร่องของรอกเพื่อยก ลาก หรือดึงของหนักหรือคนเป็นต้น ให้เบาแรงและสะดวกคล่องขึ้น. น. เรียกโขนที่ชักรอกผู้แสดง เช่น หนุมาน เบญกาย ขึ้นไปจากพื้นเวทีแสดงท่าเหาะว่า โขนชักรอก.

เรือก

หมายถึงน. ไม้ไผ่หรือไม้รวกเป็นต้นที่ผ่าออกเป็นซีก ๆ แล้วถักด้วยหวายสำหรับปูพื้นหรือกั้นเป็นรั้วเป็นต้น, พื้นที่ลาดหรือปูด้วยไม้ถักด้วยหวาย, เรียกสะพานชั่วคราวที่ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกถักด้วยหวายหรือเชือกว่า สะพานเรือก.

กระพัตร

หมายถึง[-พัด] น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปรกติคล้องผูกอยู่รอบคอช้าง เมื่อตั้งสัปคับ หรือกูบอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ปลายทั้ง ๒ ข้างผูกสัปคับหรือกูบเพื่อรั้งมิให้เลื่อนไปทางท้ายช้างขณะเดินขึ้นที่ชัน เช่น และกระพัตรรัตคนควร. (ดุษฎีสังเวย), กระพัด ก็ว่า.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ