ค้นเจอ 164 รายการ

บรรยาย

หมายถึง[บันยาย, บันระยาย] ก. ชี้แจงหรืออธิบายเรื่องให้ฟังเป็นต้น, เล่าเรื่อง เช่น ภาพยนตร์มีอักษรไทยบรรยายกำกับไว้. (ส.).

ทิพยโศรตร

หมายถึง[ทิบพะโสด, ทิบพะยะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ส. ทิพฺยโศฺรตฺร; ป. ทิพฺพโสต).

หูตัน

หมายถึงว. อาการที่หูฟังไม่ได้ยินเพราะมีขี้หูเต็มช่องหู, โดยปริยายหมายความว่าไม่ได้ยิน เช่น เรียกเท่าไรก็ไม่ได้ยิน หูตันหรืออย่างไร.

เสียงแตกพร่า,เสียงพร่า

หมายถึงน. น้ำเสียงที่ไม่ชัดเจนแจ่มใส แหบเครือ ไม่สม่ำเสมอ คล้ายมี ๒ เสียงปนกัน เช่น เปิดวิทยุไม่ตรงคลื่น ทำให้เสียงแตกพร่า ฟังไม่รู้เรื่อง.

วนิพก

หมายถึง[วะนิบพก, วะนิพก] น. คนขอทานโดยร้องเพลงหรือดีดสีตีเป่าให้ฟัง, ใช้ว่า วณิพก หรือ วันนิพก ก็มี. (ป. วนิพฺพก).

วันอุโบสถ

หมายถึงน. วันขึ้น ๑๕ คํ่า และวันแรม ๑๕ คํ่า ถ้าเป็นเดือนขาดก็แรม ๑๔ คํ่า เป็นวันที่พระลงอุโบสถฟังพระปาติโมกข์และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนถืออุโบสถศีลคือ ศีล ๘.

แสบแก้วหู,แสบหู

หมายถึงก. อาการที่รู้สึกระคายหูเพราะเสียงดังหรือเสียงแหลมเกินขนาด เช่น เสียงรถจักรยานยนต์ดังแสบแก้วหู เสียงร้องกรี๊ด ๆ ฟังแล้วแสบหู.

ลุกลน

หมายถึงก. ทำโดยรีบร้อนไม่เป็นระเบียบ เช่น ทำอะไรอย่าลุกลนของจะหล่นแตก. ว. ไม่สุภาพเรียบร้อย เช่น เขาแสดงกิริยาลุกลน พูดลุกลนฟังไม่เป็นศัพท์.

คลิ้งโคลง

หมายถึง[คฺลิ้งโคฺลง] น. นกกิ้งโครง เช่น คลิ้งโคลงคล้อแคล้ในรัง นกเจ่าเหงาฟัง แลสารกระสาสรวลตาง. (สมุทรโฆษ). (ดู กิ้งโครง ๑).

โพชฌงค์

หมายถึง[โพดชง] น. องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี ๗ ประการ; ชื่อพระปริตรที่พระสงฆ์สวดให้คนเจ็บหนักฟัง เรียกว่า สวดโพชฌงค์. (ป.).

ปาว ๆ

หมายถึงว. อาการที่พูดดัง ๆ ซ้ำ ๆ ซาก ๆ แต่ไม่มีใครสนใจฟัง เช่น ครูสอนอยู่ปาว ๆ มีคนมาตะโกนเรียกอยู่ปาว ๆ.

ให้จงได้,ให้ได้

หมายถึงว. คำประกอบท้ายกิริยา แสดงความหมายบอกการกำชับกำชาหรือความตั้งใจแน่นอน เช่น งานคืนสู่เหย้าปีนี้อย่าขาด มาให้จงได้ เขาจะไปให้ได้ ห้ามเท่าไรก็ไม่ฟัง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ