ตัวกรองผลการค้นหา
เต็มปาก
หมายถึงว. ใช้ประกอบกริยาพูดหรือกล่าว หมายความว่า พูดได้สนิทปาก, พูดได้อย่างไม่กระดากปาก ไม่อ้อมแอ้ม, บางทีก็ใช้ว่า เต็มปากเต็มคอ หรือ เต็มปากเต็มคำ.
กรรมวาจก
หมายถึง[กำมะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิดถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก.
ห่าง,ห่าง ๆ
หมายถึงว. ไกล เช่น ห่างหูห่างตา บ้านอยู่ห่างถนนมาก, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ห่างไกล; ไม่ชิด เช่น ญาติห่าง ๆ, ไม่ถี่ เช่น มีลูกห่าง.
อปราชัย,อัปราชัย
หมายถึง[อะปะ-, อับปะ-] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
แขก
หมายถึงน. ผู้มาหา, ผู้มาแต่อื่น, ผู้ที่มาร่วมงานพิธีของเจ้าภาพ, บางทีเรียกว่า แขกเหรื่อ; คนบ้านอื่นที่มาช่วยทำงาน.
สมสู่
หมายถึงก. ร่วมประเวณี (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น เขาไปสมสู่กันเอง สมสู่อยู่กินกันฉันผัวเมีย, บางทีก็ใช้กับสัตว์บางชนิด เช่น เดือน ๑๒ เป็นฤดูที่สุนัขสมสู่กัน.
สาง
หมายถึงน. ผี, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น ผีสาง; กลิ่นเหม็นของซากศพ ซากสัตว์ เช่น เหม็นสาบเหม็นสาง, โดยปริยายหมายความว่า มีกลิ่นเหม็นคล้ายคลึงเช่นนั้น.
สู้คน
หมายถึงก. มีใจกล้าไม่ยอมแพ้ใคร เช่น เขาเป็นคนสู้คน, บางทีก็ใช้เรียกคนที่ขี้ขลาดไม่ยอมสู้ใครว่า เป็นคนไม่สู้คน.
รถคฤห
หมายถึง[รดคฺรึ] น. รถที่มีหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น บางทีก็เป็นจตุรมุข สำหรับชักศพเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าลงมา มีม้าลาก.
หนาตา
หมายถึงว. ที่เห็นว่ามีมาก, มาก (ใช้แก่การเห็น), เช่น วันนี้มีคนมาชมมหรสพหนาตากว่าวันก่อน, บางทีก็ใช้ว่า หนาหูหนาตา โดยมี หนาหู เป็นคำสร้อย เช่น ละครเรื่องนี้มีคนไปดูหนาหูหนาตากว่าปรกติ.
หึงส,หึงส-,หึงสา
หมายถึง[หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทำร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
ผลาญ
หมายถึง[ผฺลาน] ก. ทำลายให้หมดสิ้นไป, บางทีหมายถึงทำลายทรัพย์สมบัติให้หมดสิ้นไป เช่น ผลาญพ่อผลาญแม่ คือ ทำลายทรัพย์สมบัติของพ่อแม่ให้หมดสิ้นไป.