ค้นเจอ 323 รายการ

เป้าประสงค์

หมายถึงน. วัตถุประสงค์หรือจุดหมายปลายทางที่บุคคลพยายามบรรลุถึง เช่น เป้าประสงค์ของวิชานี้เพื่อฝึกทักษะของผู้เรียน.

สนทนา

หมายถึง[สนทะ-] ก. คุยกัน, ปรึกษาหารือกัน, พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น สนทนาปัญหาบ้านเมือง สนทนาสารทุกข์สุกดิบ. ว. ที่คุยกัน, ที่ปรึกษาหารือกัน, ที่พูดจาโต้ตอบกัน, เช่น บทสนทนาในนวนิยาย บทสนทนาภาษาอังกฤษ. (เทียบ ป. สํสนฺทนา ว่า การเทียบเคียง, การเปรียบเทียบ).

ปัญญา

หมายถึงน. ความรอบรู้, ความรู้ทั่ว, ความฉลาดเกิดแต่เรียนและคิด, เช่น คนมีปัญญา หมดปัญญา. (ป.).

การเปรียญ

หมายถึง[-ปะเรียน] น. เรียกศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรมว่า ศาลาการเปรียญ.

วิชาบังคับเลือก

หมายถึงน. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. elective prescribed course).

ปากต่อปาก

หมายถึงก. เล่าโดยการบอกต่อ ๆ กัน; เรียนโดยการบอกด้วยปากเปล่า (มักใช้แก่ผู้ไม่รู้หนังสือ).

กุมภา

หมายถึง(กลอน) น. จระเข้ เช่น ตัวกูหลงอยู่ด้วยกุมภา จะเสื่อมเสียวิชาที่เรียนรู้. (ไกรทอง).

เทวนาครี

หมายถึง[เทวะนาคะรี] น. อักษรที่ใช้สำหรับเขียนภาษาสันสกฤต.

คำพ้องเสียง

หมายถึงคำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์ (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์

ไมล์

หมายถึงน. ชื่อมาตราวัดของอังกฤษ มีกำหนด ๑ ไมล์ เท่ากับ ๔๐ เส้น หรือ ๑.๖๐๙ กิโลเมตร. (อ. mile).

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคำไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ในภาษาไทย แต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.

มุทธชะ

หมายถึง[มุดทะ-] (ไว) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดจากการม้วนลิ้นไปสู่เพดานแข็งตอนหลัง ได้แก่พยัญชนะวรรค ฏ คือ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ และอักษร ร รวมทั้งอักษร ฬ ในภาษาบาลี และ ษ กับ ฤ ฤๅ ในภาษาสันสกฤต. (ป.; ส. มูรฺธนฺย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ