ค้นเจอ 131 รายการ

อสรพิษ

หมายถึง[อะสอระ-] น. สัตว์มีพิษในเขี้ยว มักหมายถึง งูพิษ, โดยปริยายหมายถึงคนที่ลอบทำร้ายหรือให้ร้ายผู้มีคุณหรือผู้อื่นด้วยความอิจฉาริษยาเป็นต้น. (ส. อสิร + วีษ; ป. อาสีวิส).

โสดา,โสดา,โสดาบัน

หมายถึงน. “ผู้แรกถึงกระแสธรรม (พระนิพพาน)” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นต้นใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระโสดา. (ป. โสตาปนฺน; ส. โสฺรตสฺ + อาปนฺน).

กิรินท

หมายถึง[-ริน] (แบบ) น. ช้างสำคัญ เช่น อ้าบัดนี้แม่มาเดอรดิน สีพิกากิรินทไกรอาศน กวยนแก้วราชรจนา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์). (ป. กรินฺท; ส. กรินฺ ว่า ผู้มีมือคืองวง).

ธนาณัติ

หมายถึงน. การส่งเงินทางไปรษณีย์ โดยวิธีผู้ส่งมอบเงินไว้ยังที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งแล้วเจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ออกตราสารสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงินให้แก่ผู้รับ; (กฎ) ตราสารซึ่งที่ทำการไปรษณีย์แห่งหนึ่งสั่งให้ที่ทำการไปรษณีย์อีกแห่งหนึ่งจ่ายเงิน. (ป. ธน + อาณตฺติ).

จระกล้าย

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. วางเฉย, อยู่เฉย, ไม่รู้สึกยินดียินร้าย, โบราณเขียนเป็น จรกล้าย ก็มี เช่น เออาศนไอสูรยเสีย จรกล้าย. (ยวนพ่าย), แล้วก็น่งงเยียม่งง ช่งงอยู่จรกล้าย ว่าเถ้าร้ายฤๅจะรู้กล. (ม. คำหลวง กุมาร).

อรัญญิก

หมายถึงน. ป่า, บริเวณป่า, โบราณเขียนเป็น อรญญิก หรือ อไรญิก ก็มี เช่น ในกลางอรญญิก, เมืองสุโขทัยนี้มีอไรญิก. (จารึกสยาม), (โบ) วัดอรัญญิก เช่น ไปสูดญัดกฐินเถิงอไรญิกพู้น. (จารึกสยาม). ว. ที่เกี่ยวกับป่า เช่น อรัญญิกาวาส. (ป. อารญฺก ว่า เกี่ยวกับป่า).

อรูปฌาน

หมายถึง[อะรูบปะชาน] น. ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔ คือ ๑. อากาสานัญจายตนะ (กำหนดที่ว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๒. วิญญาณัญจายตนะ (กำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์) ๓. อากิญจัญญายตนะ (กำหนดภาวะที่ไม่มีอะไร ๆ เป็นอารมณ์) ๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).

อาเทศ

หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).

จตุปาริสุทธิศีล

หมายถึง[จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).

น้อง

หมายถึงน. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนามใช้นับอายุไม้จำพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.

อาถรรพ์,อาถรรพณ์,อาถรรพณะ

หมายถึง[-ถัน, -ถัน, -ถับพะนะ] น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทำพิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทำพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์; อำนาจลึกลับที่เชื่อกันว่าอาจบันดาลให้มีอันเป็นไป เช่น ต้องอาถรรพ์ เสานี้มีอาถรรพ์. (ส. อาถรฺวณ; ป. อาถพฺพณ).

ปาฏิหาริย์

หมายถึง[-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนาปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็นอัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไปตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ