ค้นเจอ 121 รายการ

ลูกหลง

หมายถึงน. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้างอยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่นซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับเคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไปหมอบกับพื้นเวที.

กัญชา

หมายถึง[กัน-] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabidaceae ใบมนแฉกลึกเข้าไปทางก้านหลายแฉก ดอกสีเขียว ช่อดอกเพศผู้และช่อดอกเพศเมียอยู่ต่างต้นกัน ใบและช่อดอกเพศเมียที่แห้งเรียก กะหลี่กัญชา ใช้สูบปนกับยาสูบ มีสรรพคุณทำให้มึนเมา เปลือกลำต้นใช้ทำเชือกป่าน และทอผ้า.

ที่

หมายถึงน. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทำมาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตำแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คำใช้แทนคำนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คำนำหน้าสังขยาบอกลำดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.

กระโดงแดง

หมายถึงน. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Bhesa robusta (Roxb.) Ding Hou ในวงศ์ Celastraceae ลำต้นแดงคลํ้า ใบยาวปลายแหลม เลื่อมเป็นมัน, ประดงแดง กระบกคาย ชมัน ละโมก หรือ พรมคด ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) Kiew ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก; และชนิด C. sangda (Gagnep.) Kiew ลักษณะทั่วไปคล้ายชนิดแรก แต่ต้นมีขนาดย่อมกว่า ค่อนไปทางไม้พุ่ม.

กะพ้อ

หมายถึงน. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่งนํ้าเค็มขึ้นถึง ลำต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิดใบใช้ห่อทำไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อนใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).

กระสูบ

หมายถึงน. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาแก้มชํ้า แต่ลำตัวเพรียวและโตกว่าชนิดแรกคือ กระสูบขาว (Hampala macrolepidota) มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดงขอบบนและล่างสีดำ ขนาดยาวถึงประมาณ ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด (H. dispar) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่า และไม่มีแถบสีดำ ตัวยาวเต็มที่ไม่เกิน ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก.

อาบัติ

หมายถึงน. โทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ มีโทษ ๓ สถาน คือ ๑. โทษสถานหนัก เรียกว่า ครุโทษ หรือ มหันตโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติขาดจากความเป็นภิกษุ ได้แก่ อาบัติปาราชิก ซึ่งเรียกว่า ครุกาบัติ ๒. โทษสถานกลาง เรียกว่า มัชฌิมโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติต้องอยู่กรรมก่อนจึงจะพ้นโทษ ได้แก่ อาบัติสังฆาทิเสส และ ๓. โทษสถานเบา เรียกว่า ลหุโทษ ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัติที่ตํ่ากว่าอาบัติสังฆาทิเสสต้องปลงอาบัติ คือ บอกอาบัติของตนแก่ภิกษุด้วยกัน ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต ซึ่งเรียกว่า ลหุกาบัติ. (ป., ส. อาปตฺติ).

ชัก

หมายถึงก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักว่าว ชักรอก; ดึง, ดึงออกมา, ดึงขึ้น, เช่น ชักดาบออกจากฝัก ชักลิ้นชักโต๊ะ; ดึงเอามา เช่น ชักผ้าป่า ชักผ้าบังสุกุล; ดึงออกแล้วดันเข้า เช่น ชักสูบ ชักเข้าชักออก; นำ เช่น ชักนํ้าเข้าลึก ชักศึกเข้าบ้าน; นำเอามาอ้าง, ยกเอามาอ้าง, เช่น ชักตัวอย่าง; เอาออก, หักออก, เช่น ชักค่าอาหาร ชักค่านายหน้า; ขยายแนวให้ยืดออก เช่น ชักปีกกา ชักกำแพง; สี เช่น ชักซอ; กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. ว. ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ชักโกรธ ชักหิว.

ยาเสพติดให้โทษ

หมายถึง(กฎ) น. สารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆ แล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่นต้องเพิ่มขนาดการเสพขึ้นเป็นลำดับ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงตลอดเวลา และสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับรวมตลอดถึงพืชหรือส่วนของพืชที่เป็นหรือให้ผลผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษ หรืออาจใช้ผลิตเป็นยาเสพติดให้โทษและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษด้วย ทั้งนี้ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ไม่หมายความถึงยาสามัญประจำบ้านบางตำรับตามกฎหมายว่าด้วยยาที่มียาเสพติดให้โทษผสมอยู่.

ติด

หมายถึงก. อาการที่ข้องอยู่ เช่น ติดอยู่ในโลก ติดอยู่ในกิเลส; ประดับ เช่น ติดเหรียญ ติดตรา เอาดอกไม้ติดผม; แนบอยู่ เช่น เนื้อติดมัน เนื้อติดกระดูก; ทำให้เกิดขัดอยู่หรือข้องอยู่จนไม่อาจให้เคลื่อนไปได้ เช่น ติดขบวนแห่ ติดไฟแดง ติดฝน; ชอบอย่างขาดไม่ได้ เช่น ติดบุหรี่ ติดฝิ่น; อาศัยไปด้วยหรือมาด้วย เช่น ติดรถไปด้วย; ผนึก เช่น ติดแสตมป์ ติดประกาศ ติดกาว; จุด เช่น ติดไฟ ติดตะเกียง ติดเตาฟู่; ต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เช่น ห้องติดกัน; ได้รับเชื้อโรค เช่น ติดหิด; คงอยู่หรือทำให้คงอยู่ เช่น สีติดเสื้อ เสื้อติดสี; ไม่ร่วง, ไม่หลุด, (ใช้แก่ผลไม้) เช่น มะม่วงปีนี้ติดมาก; อยู่ในที่คุมขัง เช่น ติดคุก ติดตะราง; กักบริเวณ เช่น ติดสนม; คล้าย, ใกล้ข้าง, เช่น หน้าตาติดไปทางพ่อ; (ปาก) มีหนี้สินติดค้างกันอยู่ เช่น ติดเงิน.

บุกรุก

หมายถึงก. ล่วงลํ้าเข้าไปในเขตที่หวงห้าม เช่น บุกรุกเข้าไปในเขตพระราชฐาน, ล่วงลํ้าเข้าไปในบริเวณที่หวงห้ามเพื่อยึดครองเป็นต้น เช่น บุกรุกป่าสงวน, ล่วงลํ้าเข้าไปในสถานที่ของผู้อื่นโดยบังอาจหรือพลการ เช่น บุกรุกเข้าไปในบ้านผู้อื่น. (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญา เรียกว่า ความผิดฐานบุกรุก ได้แก่ การเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปรกติสุข; การถือเอาอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่นเป็นของตนหรือของบุคคลที่สาม โดยยักย้ายหรือทำลายเครื่องหมายเขตแห่งอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน; การเข้าไปหรือซ่อนตัวอยู่ในเคหสถาน อาคารเก็บรักษาทรัพย์หรือสำนักงานในความครอบครองของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุอันควร หรือไม่ยอมออกไปจากสถานที่เช่นว่านั้นเมื่อผู้มีสิทธิที่จะห้ามมิให้เข้าไปได้ไล่ให้ออก.

กะ-

หมายถึงพยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคำซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อสละสลวยหรือเน้นคำให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคำหน้ามานำ เช่น นกยาง เป็น นกกะยาง, ผักโฉม เป็น ผักกะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูกกะดุม. ต่อไปนี้เป็นคำที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคำแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรำ, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม,กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทำ, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลำพัก, กะลำพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ