ค้นเจอ 193 รายการ

สารประโยชน์

หมายถึง[สาระ-] น. ประโยชน์ที่เป็นแก่นสาร เช่น สารประโยชน์ของกฎหมายฉบับนี้ เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐานของประชาชน, สารัตถประโยชน์ ก็ว่า.

หน้าเหี่ยว

หมายถึงน. หน้าที่ไม่เต่งตึง, โดยปริยายหมายความว่า ไม่สมปรารถนา เช่น ขอสตางค์แม่ไม่ได้ก็หน้าเหี่ยวกลับมา.

อาโลกกสิณ

หมายถึง[-โลกะกะสิน] น. การเจริญสมถกรรมฐานโดยตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์. (ป.).

ศรมณะ

หมายถึง[สะระมะ-] น. ผู้ปฏิบัติบำเพ็ญพรต, พระสงฆ์. (ส.; ป. สมณ).

สมมูล

หมายถึง[สะมะมูน, สมมูน] ว. มีค่าเท่าเทียมกัน, เสมอเหมือนกัน, เปลี่ยนแทนกันได้. (อ. equivalent).

ตบหัวกลางศาลา ขอขมาที่บ้าน

หมายถึง(สำ) ก. ยอมรับผิดไม่สมกับความผิดที่ทำไว้, ใช้เพี้ยนว่า ตบหัวที่ศาลา ขอขมาที่บ้าน ก็มี.

สุขนาฏกรรม

หมายถึง[สุกขะนาดตะกำ] น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่นเรื่องอิเหนา ศกุนตลา ชิงนาง ปริศนา, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่ลงท้ายด้วยความสุขหรือสมหวัง เช่น ชีวิตเธอเป็นเหมือนนวนิยายสุขนาฏกรรม แม้จะตกระกำลำบากในวัยเด็ก แต่แล้วก็ได้พบกับความสุขสมหวังในบั้นปลายชีวิต.

อุปกิเลส

หมายถึง[อุปะกิเหฺลด] น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. (ป. อุปกฺกิเลส).

เหมาะสม

หมายถึงว. พอเหมาะพอสมกัน เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาวคู่นี้เหมาะสมกัน; สมควร, ควรแก่กรณี, เช่น เขาถูกลงโทษเหมาะสมกับความผิดแล้ว.

อาโปกสิณ

หมายถึง[-กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอาธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.

หัวเข้า

หมายถึงน. หัวของตัวหนังสือที่ม้วนเข้าอยู่ภายในเส้นกรอบของตัวอักษร เช่น ตัว ถ ตัว ผ, ตรงข้ามกับ หัวออก. (ดู หัวออก).

อนิจกรรม

หมายถึงน. ความตาย, ใช้กับผู้ตายที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นประถมาภรณ์มงกุฎไทยขึ้นไป หรือทุติยจุลจอมเกล้า หรือทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ว่า ถึงแก่อนิจกรรม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ