ค้นเจอ 6,155 รายการ

กปณ

หมายถึง[กะปะนะ] ว. อนาถา, ไร้ญาติ, น่าสงสาร, (กลอน) เขียนเป็น กปนา ก็มี เช่น แม้มนุษยกปนาจำนง ขอสิ่งประสงค์ประสาททาน. (ม. คำหลวง มัทรี). (ป.).

พะเลย

หมายถึงน. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนำข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทนข้าวที่เสียไป, เรียกนาที่ทำด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.

วทานิย,วทานิย-

หมายถึง[วะทานิยะ-] น. ผู้เอื้อเฟื้อ. (ป. วทานีย; ส. วทานฺย).

วิษณุ

หมายถึง[วิดสะนุ] น. พระนารายณ์. (ส.).

คันถรจนาจารย์

หมายถึง[-รดจะนาจาน] น. อาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์. (ป. คนฺถ + ป., ส. รจน + ส. อาจารฺย).

เสด็จในกรม

หมายถึง(ปาก) น. คำเรียกเจ้านายที่ทรงกรม.

ประ,ประ-,ประ-

หมายถึง[ปฺระ] ใช้เติมหน้าคำอื่นเพื่อให้คำหนักแน่นขึ้น เช่น ชิด เป็น ประชิด, ท้วง เป็น ประท้วง; คำที่แผลงมาจาก ผ เช่น ผทม เป็น ประทม แล้วแผลง ประ เป็น บรร เช่น ประทม เป็น บรรทม.

นาเชิงทรง

หมายถึงน. นาชนิดที่ไม่มีทางจะบุกเบิกออกไปได้อีก, นาขอบเหล็ก ก็ว่า.

ปริ,ปริ-,ปริ-

หมายถึง[ปะริ-] เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.

อนุประโยค

หมายถึงน. ประโยคเล็กที่ทำหน้าที่แต่งมุขยประโยคให้ได้ความดีขึ้น แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ นามานุประโยค คุณานุประโยค และวิเศษณานุประโยค.

สนาบัน

หมายถึง[สะนา-] น. การอาบนํ้า, การอาบนํ้าให้ผู้อื่น. (ส.; ป. นหาปน).

นาฏกะ

หมายถึง[นาตะกะ, นาดตะกะ] (แบบ) น. ผู้ฟ้อนรำ. (ป., ส.).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ