ค้นเจอ 153 รายการ

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.

คำนับ

หมายถึงก. ทำความเคารพ, ทำความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คำที่ต้องนับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลำดับคำนับนี้ไว้. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

คนธรรพ-

หมายถึง[คนทันพะ-, คนทับพะ-] น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. (ส. คนฺธรฺว; ป. คนฺธพฺพ).

โกรธ

หมายถึง[โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).

จุลกฐิน

หมายถึงน. เรียกพิธีทอดกฐินที่ต้องทำตั้งแต่ปั่นฝ้าย ทอ เย็บ ย้อมผ้ากฐิน และถวายสงฆ์ให้เสร็จในวันเดียว, โดยปริยายหมายความว่า งานที่ต้องทำอย่างชุลมุนวุ่นวายเพื่อให้เสร็จทันเวลาอันจำกัด.

ภาคทัณฑ์

หมายถึง[พากทัน] ก. ตำหนิโทษ, คาดโทษ, ลงโทษเพียงว่ากล่าว, ลงโทษข้าราชการพลเรือนโดยตำหนิโทษเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งเป็นการลงโทษขั้นเบาที่สุด. (ส. วาคฺทณฺฑ = ลงโทษเพียงว่ากล่าว).

ฉับฉ่ำ

หมายถึง(กลอน) ว. ไพเราะ, เสนาะหู, เช่น ละครก็ฟ้อนร้อง สุรศัพทกลับขาน ฉับฉ่ำที่ตำนาน อนิรุทธกินรี. (บุณโณวาท).

ประมง

หมายถึงน. การจับสัตว์นํ้า เช่น ทำประมง; คนเลี้ยงชีพในทางจับสัตว์นํ้า เรียกว่า ชาวประมง พวกประมง; ประโมง ก็ใช้. ก. ดำนํ้าหาปลา เช่น กานํ้าดำนํ้าคือประมง, ตระบัดประมงลงทัน. (สมุทรโฆษ).

พุทรา

หมายถึง[พุดซา] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Ziziphus mauritiana Lam. ในวงศ์ Rhamnaceae กิ่งมีหนาม ผลมีทั้งกลมและรี, พายัพและอีสานเรียก กะทัน ทัน หรือ หมากทัน. (ป., ส. พทร).

เท่า

หมายถึงว. เสมอกัน เช่น สูงเท่ากัน; ถึง เช่น ตราบเท่า; ทัน เช่น รู้เท่า; แค่, เพียง, เช่น สูงเท่าใด เก่งเท่าไหน ตัวเท่านี้. น. จำนวนที่เพิ่มขึ้นตามส่วนของจำนวนเดิม เช่น ๓ เท่า คือจำนวนที่เพิ่มขึ้นเป็น ๓ ส่วนของจำนวนเดิม.

กวด

หมายถึงก. ทำให้แน่น ให้ตึง หรือให้เขม็งยิ่งขึ้น เช่น กวดเชือก กวดตะปู, เร่งรัดให้ดียิ่งขึ้นหรือเพื่อให้ทัน เช่น กวดวิชา วิ่งกวด. น. เหล็กเครื่องมือสำหรับกวดเลี่ยมขอบภาชนะ เรียกว่า เหล็กกวด.

ทัณฑสถาน

หมายถึง[ทันทะ-] (กฎ) น. เรือนจำพิเศษประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้เป็นที่ควบคุมกักขังผู้ต้องขังเฉพาะแต่ละประเภทให้เหมาะสมกับประเภทผู้ต้องขังนั้น ๆ เช่น ทัณฑสถานวัยหนุ่ม เป็นสถานที่ควบคุมกักขังและฝึกอาชีพแก่ผู้ต้องขังที่อยู่ในวัยหนุ่ม.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ