ค้นเจอ 119 รายการ

เรือ

หมายถึงน. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทำด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนำกระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า; ตัวหมากรุกที่เดินตาตรงได้ตลอด; เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง เอาไม้ไผ่มาเหลาแบน ๆ ดัดให้หัวงอน ใช้พุ่งแข่งกัน; ยศทหารเรือหรือทหารอากาศชั้นสัญญาบัตรขั้นต้น ตํ่ากว่าชั้นนาวาหรือนาวาอากาศ เช่น เรือตรี เรืออากาศเอก.

ลั่น

หมายถึงก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.

โตงเตง

หมายถึงน. เครื่องหูกชนิดหนึ่ง มี ๒ อันผูกแขวนลงมาสำหรับสวมกระดานที่ม้วนด้าย; เรียกเสาไม้ขนาดใหญ่ ๒ เสาที่แขวนห้อยอยู่กลางประตูเพนียดให้ช้างเข้าออกว่า เสาโตงเตง, ประตูเข้ามีเสาโตงเตง ๒ ชั้น ส่วนประตูออกมีเสาโตงเตงชั้นเดียว, เรียกประตูเพนียดที่มีเสาโตงเตงว่า ประตูโตงเตง. ว. อาการแห่งสิ่งของที่ห้อยแล้วหย่อนยานแกว่งไปมาได้.

เม็ด

หมายถึงน. ส่วนภายในของผลไม้ที่เพาะเป็นต้นขึ้นได้ เช่น เม็ดมะม่วง เม็ดมะปราง, เมล็ด ก็ว่า; ของที่เป็นก้อนกลม ๆ ขนาดเล็ก เช่น เม็ดกรวด เม็ดทราย, ลักษณนามเรียกของที่เป็นก้อนเป็นตุ่มเล็ก ๆ เช่น กรวดเม็ดหนึ่ง ถั่ว ๒ เม็ด; ปลายเสาที่มักกลึงเป็นรูปกลมและมียอดคล้ายตัวเม็ดของหมากรุก, ที่ปลายเป็นรูปเหลี่ยมก็มี, เรียกว่า หัวเม็ด; ตัวหมากรุกที่เวลาตั้งกระดานใหม่วางอยู่ข้างขวาขุน.

วาง

หมายถึงก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง; กำหนด, ตั้ง, เช่น วางกฎ วางเงื่อนไข วางรากฐาน; จัดเข้าประจำที่ เช่น วางคน วางยาม, วางกำลัง; ปล่อยวาง เช่น วางอารมณ์ วางธุระ; (กลอน) อาการที่เคลื่อนไปโดยรีบร้อน เช่น ขี่ช้างวางวิ่ง.

กระทุ่ม

หมายถึงน. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและในระหว่างใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. (เทียบ ป. กทมฺพ).

ชนวน

หมายถึง[ชะ-] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่นและละเอียด มีสีต่าง ๆ กัน ตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี; เรียกกระดานเขียนหนังสือทำด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดินระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยายหมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.

ทวน

หมายถึงน. อาวุธชนิดหนึ่งคล้ายหอก แต่เรียวเล็กและเบากว่า ด้ามยาวมาก; ไม้ ๒ อันที่ตั้งขึ้นข้างหัวและท้ายเรือต่อ สำหรับติดกระดานต่อขึ้นไป; เครื่องมือช่างทองทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดรูปพรรณ อีกข้างหนึ่งสำหรับยึดกับฐานที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อนั่งสลักได้สะดวก; เครื่องมือช่างเจียระไนทำด้วยไม้ ปลายข้างหนึ่งติดครั่งสำหรับยึดอัญมณี อีกข้างหนึ่งเป็นด้ามสำหรับถือเพื่อนำไปเจียบนแท่นเจียให้เป็นเหลี่ยมหรือรูปตามต้องการ; ส่วนปลายคันซอไทยบริเวณที่มีลูกบิด; เครื่องดินเผาสำหรับรองตะคันอบนํ้าหอม.

กระทง

หมายถึงน. ภาชนะเย็บด้วยใบตองหรือใบไม้เป็นต้น ยกขอบสูงสำหรับใส่ของ, ถ้าเสริมขอบปากเป็นรูปกรวยเล็ก ๆ โดยรอบ เรียกว่า กระทงเจิม, ภาชนะที่ทำขึ้นสำหรับลอยนํ้าในประเพณีลอยกระทง; ตอนหนึ่ง ๆของนาซึ่งมีคันกั้น เรียกว่า กระทงนา, อันนา ก็เรียก; ผ้าท่อนหนึ่ง ๆ ของจีวร มีลักษณะเหมือนกระทงนา ซึ่งมีรูปสี่เหลี่ยม; ไม้กระดานที่ยึดกราบเรือหรือพาดแคมเรือทั้ง ๒ ข้างเป็นตอน ๆ (เทียบมลายู กุดง); ตอนหนึ่ง ๆ ของข้อความ; (กฎ) ลักษณนามของความผิดอาญาแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้ง การกระทำความผิดแต่ละกรรมหรือแต่ละครั้งนั้น ถือว่าเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง เช่น การกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หลายครั้ง การลักทรัพย์แต่ละครั้งเป็นกระทงความผิดกระทงหนึ่ง ๆ; (เลิก) ฐานปรับตามกรมศักดิในกฎหมายเก่า.

หน้า

หมายถึงน. ส่วนของศีรษะตั้งแต่หน้าผากลงมาจดคาง; ซีกของกายที่ตรงข้ามกับหลัง, ด้านของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่อยู่ตรงข้ามกับสายตาของเราหรือด้านที่เผชิญหน้ากับสายตาของเรา เช่น เขาวิ่งอยู่หน้าฉัน จึงเห็นแต่หลังเขาไว ๆ; ส่วนบนของบางสิ่ง เช่น หน้าขนม ข้าวเหนียวหน้าสังขยา หน้าปกหนังสือ; เครื่องปรุงที่แต่งหรือโรยบนอาหารบางอย่าง เช่น กระเทียมเจียวโรยหน้าข้าวต้ม; ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน; ส่วนกว้างของแผ่นกระดาน เสาเหลี่ยมหรือผืนผ้า เป็นต้น; ชายผ้าบางชนิดที่มีลวดลาย, ด้านของผ้าที่มีลวดลายชัดกว่า; คราว เช่น เมื่อข้าวสุกแล้วก็ถึงหน้าเก็บเกี่ยว, ฤดู เช่น หน้าฝน หน้าทุเรียน; โดยปริยายหมายถึงคน เช่น เขาสู้ทุกคนไม่ว่าหน้าไหน; เกียรติและศักดิ์ศรี เช่น เห็นแก่หน้า ไม่ไว้หน้า; ลักษณนามบอกจำนวนด้านของแผ่นกระดาษ เช่น หนังสือเล่มนี้มี ๒๐๐ หน้า. ว. ถัดไป เช่น อาทิตย์หน้า ฉบับหน้า; ตรงข้ามกับ หลัง (ใช้แก่เวลาที่ยังมาไม่ถึง) เช่น วันหน้า เดือนหน้า ปีหน้า, อยู่ตรงข้ามกับข้างหลัง เรียกว่า ข้างหน้า.

ต่อ

หมายถึงก. เพิ่มให้ยืดออกไป เช่น ต่อเวลาออกไป ต่อหนังสือสัญญา, เพิ่มให้ยาวออกไป เช่น ต่อเชือก; ทำให้ติดกันเป็นอันเดียว เช่น ต่อสะพาน, เชื่อมให้ติดต่อกัน เช่น ต่อคำ ต่อความ; เอาวัตถุเช่นไม้มาประกอบเข้าเป็นรูป เช่น ต่อกรง ต่อเรือ, เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้กระดานโดยนำมาต่อขึ้นเป็นรูปเรืออาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึด ตัวเรือป่อง หัวและท้ายเรือเรียวเชิดขึ้นตามส่วนเช่นเรือสำปั้น เรือบด เรืออีแปะ ว่า เรือต่อ; ทำให้ติดอย่างไฟ เช่น ต่อไฟ ต่อเทียน; ขอลดราคาให้น้อยลง เช่น ต่อราคา ต่อของ; ท้าพนันโดยยอมลดเปรียบให้ เช่น ต่อให้, ฝ่ายเห็นว่าได้เปรียบเป็นฝ่ายต่อ ฝ่ายเห็นว่าสู้ได้เป็นฝ่ายรอง; นำสัตว์เลี้ยงไปล่อสัตว์ป่า ในคำว่า ต่อนก ต่อไก่. น. เท่าตัว, เท่าทุน, เช่น กิน ๒ ต่อ ใช้ ๒ ต่อ, ทอด เช่น ขึ้นรถ ๒ ต่อ. ว. ออกจะ, น่าจะ, ท่าจะ, เช่น มันต่อจะชอบกลเจ้ามณฑา. (สังข์ทอง); ถัดไป, สืบไป, ติดต่อกันไป, เช่น ต่อนี้ไป ต่อไป อ่านต่อ วิ่งต่อ, เพิ่มขึ้น เช่น เรียนต่อ; เรียกสัตว์เลี้ยงที่นำไปล่อสัตว์ป่า เช่น ไก่ต่อ นกต่อ ช้างต่อ; เรียกสิ่งที่เชื่อมเข้าด้วยกัน เช่น คำต่อ (คือ คำบุรพบทและคำสันธาน) ข้อต่อ. บ. เฉพาะ, ประจันหน้า, เช่น ต่อหน้า ยื่นต่ออำเภอ; เมื่อถึง เช่น มาต่อปีหน้า; แต่ละ, ราย, เช่น ต่อคน ต่อปี; เทียบส่วนกัน เช่น ๓ ต่อ ๑; ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์เป็นการเฉพาะ เช่น ครูต่อหนังสือให้นักเรียน ครูเพลงต่อเพลงให้ศิษย์, เรียนวิชาบางอย่างจากครูเป็นการเฉพาะ เช่น นักเรียนไปต่อหนังสือกับครู ศิษย์ไปต่อเพลงกับครูเพลง.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ