ตัวกรองผลการค้นหา
ชรุก
หมายถึง[ชฺรุก] (กลอน) ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น ช่อช้อยชรุกระโยงยาน. (ม. คำหลวง จุลพน).
ทุย
หมายถึงว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติจนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทำกราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็นคำเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
สอด
หมายถึงก. เสือกหรือใส่เข้าไปในช่องหรือในระหว่างที่แคบ ๆ เช่น สอดจดหมายเข้าไปใต้ประตู สอดขาเข้าไปในกางเกง, ใส่ เช่น สอดสนับเพลา, แทรกเข้าไประหว่างกลาง เช่น เอาธนบัตรสอดไว้ในหนังสือ, แทรกเข้าในระหว่าง (มักใช้ในเชิงตำหนิ) เช่น ขณะที่ผู้ใหญ่กำลังพูดอยู่ เด็กไม่ควรพูดสอดขึ้น.
ตะพาย
หมายถึงก. แขวนบ่า, ห้อยเฉียงบ่า, เช่น ตะพายย่าม, สะพาย ก็ว่า; เรียกกิริยาที่เอาเชือกร้อยช่องจมูกวัวควายที่เจาะว่า สนตะพาย, ใช้โดยปริยายแก่คนว่า ถูกสนตะพาย หรือ ยอมให้เขาสนตะพาย หมายความว่า ถูกบังคับให้ยอมทำตามด้วยความจำใจ ความหลง หรือความโง่เขลาเบาปัญญา; เรียกเชือกที่ร้อยจมูกวัวควายว่า สายตะพาย. น. ช่องจมูกวัวควายที่เจาะสำหรับร้อยเชือก; เรียกลายที่เป็นทางแต่จมูกขึ้นไปทั้ง ๒ ข้างแห่งนกกระทา.
ตาแหวน
หมายถึงน. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดำ (มักใช้แก่ม้า วัว ควาย).
จูงจมูก
หมายถึงก. อาการที่จับเชือกที่สนตะพายจมูกวัวควายแล้วจูงไป, โดยปริยายใช้แก่คนว่า ถูกจูงจมูก หมายความว่า ถูกเขาชักนำไปโดยไม่ใช้ความคิดของตน.
เขนง
หมายถึง[ขะเหฺนง] น. เขาสัตว์, เขาวัวเขาควายที่ใช้เป่าบอกอาณัติสัญญาณ; ภาชนะใส่ดินปืน เดิมใช้เขาสัตว์; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
รูปพรรณ
หมายถึง[รูบปะพัน] น. ลักษณะ, รูปร่างและสี, เช่น รูปพรรณวัว รูปพรรณควาย; เงินทองที่ทำเป็นเครื่องประดับ เช่น เงินรูปพรรณ ทองรูปพรรณ.
โกรด
หมายถึง[โกฺรด] (โบ) ว. ว่องไว, แข็งแรง; เต็มที่, เต็มกำลัง, เช่น ผอมเหมือนกวางโกรกโกรด. (มโนห์รา); เปลี่ยว, คะนอง, เช่น ควายโกรด; โดดเดี่ยว; โตรด ก็ใช้.
กรรแซง
หมายถึง[กัน-] (เลิก) น. กองทำหน้าที่แซงในกระบวนพยุหยาตราเพื่อป้องกันจอมทัพ, คู่กันกับ กรรแทรก คือ กองทำหน้าที่แทรกเพื่อป้องกันจอมทัพ. (ดู กันแซง).
หัวหายตะพายขาด
หมายถึง(สำ) ว. อาการที่ชอบเที่ยวเตลิดไปไม่อยู่ติดบ้าน บางทีก็ไม่กลับบ้านเลย คล้ายวัวควายที่เชือกตะพายขาดเที่ยวเตลิดไป.
แอก
หมายถึงน. ไม้วางขวางบนคอวัวหรือควายใช้ไถนา คราดนา หรือเทียมเกวียน เป็นต้น; โดยปริยายหมายถึงการถูกกดขี่ ในคำว่า ปลดแอก.