ค้นเจอ 213 รายการ

มือขวา

หมายถึงน. ความสันทัด เช่น การรบพุ่งชิงชัยมันเป็นมือขวาของเขานี่ครับ. (ชิงนาง ร. ๖). ว. ที่ใกล้ชิด, ที่เก่งกล้าสามารถ, ที่ไว้วางใจได้, เช่น สมุนมือขวา.

ชระลั่ง

หมายถึง[ชฺระ-] (กลอน) ก. ทะลึ่งทะลั่ง เช่น จงสองเจ้าอย่าได้ทะลิ่นชระลั่งคอยนั่งเฝ้าพระบาท. (ม. คำหลวง กุมาร).

ยุ่ง

หมายถึงว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึงจะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวายว่า ตัวยุ่ง. ก. เข้ามาเกี่ยวข้องพัวพันโดยไม่จำเป็น เช่น อย่าไปยุ่งเรื่องของเขา อย่าไปยุ่งกับเขา, มีธุระพัวพันมาก เช่น กำลังยุ่งอย่ามากวนใจ, วุ่นวายไม่เป็นปรกติ เช่น ยุ่งกันไปทั้งบ้าน.

หยุมหยิม

หมายถึงว. จุกจิก เช่น เขาเป็นคนหยุมหยิม. ก. จู้จี้, ชอบถือเอาเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ว่าเป็นเรื่องสำคัญ, เช่น อย่าไปหยุมหยิมกับเขามากนัก.

เล่าเรียน

หมายถึงก. ท่องบ่น เช่น เล่าเรียนคาถาอาคม, ศึกษาหาความรู้ เช่น เขาเล่าเรียนมา อย่าไปเถียงเขา, เรียกเงินที่ต้องชำระเพื่อศึกษาหาความรู้ว่า ค่าเล่าเรียน.

ผุด

หมายถึงก. โผล่, ทะลึ่งหรือสูงเด่นขึ้นมาปรากฏอยู่เหนือพื้นดินพื้นนํ้าเป็นต้น เช่น ปลาผุด ตอผุด อย่าได้ผุดได้เกิด.

กระกัติ

หมายถึง(โบ) ก. กระกัด, ใคร่, อยาก, ยินดี, เช่น อย่ายักษ์มลักกรีฑาดล ด้าวอำเภอพลลการกระกัติกามา. (สรรพสิทธิ์).

เกราะ

หมายถึง[เกฺราะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑), ใช้ว่า เกลาะ ก็มี เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา).

เกลาะ

หมายถึง[เกฺลาะ] ก. พูดเลียบเคียง เช่น ใช่จะแกล้งกล่าวเกลาะให้เพราะพริ้ง. (อิเหนา), ใช้ว่า เกราะ ก็มี เช่น อย่าคำเพราะเกราะกล่าวเจรจา. (รามเกียรติ์ ร. ๑).

หลงใหลได้ปลื้ม

หมายถึง(สำ) ก. ตื่นเต้นยินดีเมื่อตนเองหรือผู้อื่นได้ดิบได้ดีเป็นต้น เช่น อย่ามัวหลงใหลได้ปลื้มกับรางวัลจนลืมหน้าที่การงานของตน.

แม้

หมายถึงสัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คำสนับสนุนข้ออ้างให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.

ชีพ,ชีพ-

หมายถึง[ชีบ, ชีบพะ-] น. ชีวิต เช่น เสียชีพอย่าเสียสัตย์; ความเป็นอยู่, ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. (ป., ส. ชีว).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ