ค้นเจอ 3,949 รายการ

จอมมารดา

หมายถึงน. พระสนมที่มีพระโอรสหรือพระธิดาแล้ว, พระสนมที่มีพระองค์เจ้าแล้ว.

เย็นหู

หมายถึงว. รื่นหู, ไม่ขัดหู, ฟังแล้วสบายใจ, เช่น พูดจาไพเราะนุ่มนวลฟังแล้วเย็นหู เสียงเขาฟังแล้วเย็นหู.

ลงอุโบสถ

หมายถึงก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.

ไกพัล

หมายถึง[ไกพัน] (กลอน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).

ขอเดชะ

หมายถึงน. คำขึ้นต้นและคำลงท้ายในการกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

สมี

หมายถึง[สะหฺมี] น. คำเรียกพระภิกษุผู้ต้องอธิกรณ์ขั้นปาราชิก; (โบ) คำใช้เรียกพระภิกษุ.

สุเรนทรชิต

หมายถึงครุฑ, ผู้ชนะพระอินทร์

ด้านไม้

หมายถึงก. ถูกตีมากจนชินเลยไม่รู้จักหลาบจำ.

ไตรปิฎก

หมายถึง[-ปิดก] น. พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี ๓ ปิฎก คือ พระวินัย เรียก วินัยปิฎก พระสูตร เรียก สุตตันตปิฎก พระอภิธรรม เรียก อภิธรรมปิฎก, ตรีปิฎก ก็ว่า.

สีซอให้ควายฟัง

หมายถึง(สำ) ก. สั่งสอนแนะนำคนโง่มักไม่ได้ผล เสียเวลาเปล่า.

คำ

หมายถึงน. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษรที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคำอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คำนาม คำกริยา คำบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือบาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคำหนึ่ง, ลักษณนามบอกจำพวกของเคี้ยวของกิน เช่น ข้าวคำหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคำกลอนว่า คำหนึ่ง.

ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด

หมายถึง(สำ) ก. ฟังไม่ได้ความแจ่มชัด แล้วเอาไปพูดต่อหรือทำผิด ๆ พลาด ๆ.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ