ค้นเจอ 186 รายการ

ก็ดี

หมายถึงนิ. แสดงความหมายเป็นส่วน ๆ หรือเน้นความให้มีนํ้าหนักเท่ากัน เช่น บิดาก็ดี มารดาก็ดี ย่อมรักบุตร ยานี้กินก็ได้ ทาก็ได้.

มีดชายธง

หมายถึงน. มีดขนาดย่อม ใบมีดเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลม ยาวประมาณ ๑ คืบ ด้ามสั้น ใช้พกเป็นอาวุธ.

ขลาย

หมายถึง[ขฺลาย] น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมถึงขนาดกลาง ขึ้นอยู่ตามป่าตํ่าทางภาคกลางของไทย ไม้ใช้ทำฟืนกันมาก เช่น คุดคุยขลู่ขลาย. (สมุทรโฆษ).

เสาทุบเปลือก

หมายถึงน. เสาไม้เนื้ออ่อนลำขนาดย่อม ซึ่งทุบแล้วลอกเอาเปลือกออก แต่ไม่ได้ถากแต่ง ใช้ทำเสาเข็ม เสารั้ว เป็นต้น.

ว้า

หมายถึงอ. คำที่เปล่งออกมาเมื่อรู้สึกไม่พอใจหรือผิดจากที่คาดไว้เป็นต้น. ว. คำออกเสียงลงท้ายประโยคแสดงความสงสัยหรือปลอบใจเป็นต้น เช่น หายไปไหนว้า อย่าเสียใจไปเลยว้า.

สาระ

หมายถึงน. ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น เขียนมายืดยาวแต่มีสาระน้อย ทำดีย่อมได้ดีเป็นสาระสำคัญของเรื่องนี้; ประโยชน์ เช่น เรื่องไม่เป็นสาระ ไร้สาระ.

คนดีผีคุ้ม

หมายถึง(สำ) น. คนทำดีเทวดาย่อมคุ้มครอง, มักใช้เข้าคู่กับ คนร้ายตายขุม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.

สุขลักษณะ

หมายถึงน. ลักษณะที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติเพื่อความปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เช่น สร้างบ้านเรือนให้ถูกสุขลักษณะ มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ส้วมที่ถูกสุขลักษณะย่อมไม่แพร่กระจายเชื้อโรค.

คนร้ายตายขุม

หมายถึง(สำ) น. คนทำชั่วย่อมตกนรก, มักใช้เข้าคู่กับ คนดีผีคุ้ม ว่า คนดีผีคุ้ม คนร้ายตายขุม.

ตีงูให้หลังหัก

หมายถึง(สำ) ก. กระทำการสิ่งใดแก่ศัตรูโดยไม่เด็ดขาดจริงจังย่อมจะได้รับผลร้ายในภายหลัง เช่น ประเวณีตีงูให้หลังหัก มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง. (อภัย).

อินทรวงศ์

หมายถึง[อินทฺระ-] น. ชื่อฉันท์ ๑๒ แบบหนึ่ง หมายความว่า ฉันท์ที่มีสำเนียงไพเราะดุจเสียงปี่ของพระอินทร์ วรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๗ คำ รวม ๒ วรรค เป็น ๑ บาท นับ ๒ บาท เป็น ๑ บท คำที่ ๓ ของวรรคหน้ากับคำที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๖ ของวรรคหลังเป็นลหุ นอกนั้นเป็นครุ คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ รับสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

โต่ง

หมายถึงน. ที่สุดของสิ่งที่เป็นแถวเป็นแนว เช่น ปลายโต่ง ท้ายโต่ง สุดโต่ง; ท่อนไม้ที่ผูกติดอยู่บนแพสุดท้าย สำหรับต๋งกับหลักบนริมฝั่งเพื่อยึดแพไม่ให้น้ำพัดลอยไป.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ