ค้นเจอ 138 รายการ

ราชรถ

หมายถึง[ราดชะรด] น. ยานพาหนะชนิดล้อเลื่อน มีบุษบกเป็นเครื่องประกอบพระราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์ ในปัจจุบันมีอยู่ ๒ คัน คือ พระมหาพิชัยราชรถ กับ เวชยันตราชรถ ใช้ประดิษฐานพระบรมโกศและพระโกศ.

ลูกเธอ

หมายถึง(ราชา) น. คำนำหน้านามพระราชโอรสพระราชธิดาในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงต้นรัชกาลที่ ๓, คำนำหน้านามพระราชธิดาในสมัยปลายรัชกาลที่ ๓ ถึงปัจจุบัน, เรียกเต็มว่า พระเจ้าลูกเธอ, ถ้ามีพระมารดาเป็นเจ้า เรียกว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ.

มหาฤกษ์

หมายถึง[-เริก] น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ใช้บรรเลงในเวลาได้ฤกษ์เปิดงานที่เป็นพิธีใหญ่ เช่น พิธีเปิดสถานที่ทำงานรัฐบาล พิธีเปิดทางคมนาคมที่สำคัญ ๆ, ปัจจุบันข้อบังคับกระทรวงกลาโหมกำหนดให้ดุริยางค์บรรเลงเพลงมหาฤกษ์รับและส่งประธานในพิธีการที่เป็นบุคคลอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวไว้ในเพลงมหาชัย.

วังหน้า

หมายถึงน. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกในราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียกพระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.

สินธุ

หมายถึงน. ลำนํ้า, แม่นํ้า, สายนํ้า, นํ้า, ทะเล, มหาสมุทร, ใช้ว่า สินธุ์ หรือ สินธู ก็มี เช่น สุวรรณหงส์เหินเห็จฟ้า ชมสินธุ์ (พยุหยาตรา), สินสมุทรสุดรักพระธิดา เอาใส่บ่าแบกว่ายสายสินธู. (อภัย); ชื่อแม่นํ้าสำคัญสายหนึ่งในชมพูทวีป ปัจจุบันอยู่ในประเทศอินเดียและปากีสถาน. (ป., ส.).

กรม

หมายถึง[กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็นกระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.

อาขยาต

หมายถึง[-ขะหฺยาด] ว. กล่าวแล้ว. น. ชื่อคำกริยาประเภทหนึ่งในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต ประกอบด้วย ธาตุ วิภัตติ กาล บท พจน์ บุรุษ วาจก ปัจจัย เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกเนื้อความให้ชัดเจน เช่น กโรติ = ย่อมกระทำ ประกอบด้วย กรฺธาตุ ติวิภัตติ ปัจจุบันกาล ปรัสสบท เอกพจน์ ปฐมบุรุษ กัตตุวาจก โอปัจจัย. (ป., ส.).

วิภัตติ

หมายถึง[วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจำแนก; (ไว) ประเภทคำในภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคำแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).

สำอาง

หมายถึงน. เครื่องแป้งเครื่องหอม เรียกว่า เครื่องสำอาง, ปัจจุบันหมายถึง สิ่งเสริมแต่งหรือบำรุงใบหน้า ผิวพรรณ ผม เป็นต้นให้ดูงาม เช่น แป้ง ลิปสติก ดินสอเขียนคิ้ว, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องพระสำอาง. ว. ที่ทำให้งามสะอาดหมดจด, งามสะอาดหมดจด, งามกรีดกรายหยิบหย่ง เช่น เขาเป็นหนุ่มสำอางท่าทางกรีดกราย.

กระสอบทราย

หมายถึงน. ถุงผ้าใบหรือหนัง ลักษณะคล้ายหมอนข้างขนาดใหญ่ เดิมบรรจุทราย ปัจจุบันบรรจุด้วยขี้เลื่อย เศษผ้า หรือฟองน้ำ อัดแน่น เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งในการฝึกซ้อมของนักมวยเพื่อฝึกการชก เตะ ขึ้นเข่า เป็นต้น, (ปาก) ผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกายอย่างบอบช้ำ โดยที่ไม่มีทางหรือไม่กล้าต่อสู้ เช่น นักมวยฝ่ายน้ำเงินถูกนักมวยฝ่ายแดงถลุงเป็นกระสอบทราย.

กรรม,กรรม,กรรม-,กรรม-

หมายถึง[กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมายังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.

กระทรวง

หมายถึง[-ซวง] (กฎ) น. ส่วนราชการหนึ่งในราชการบริหารส่วนกลาง ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเป็นหัวหน้า; (โบ) ส่วนราชการที่พอเทียบได้กับกรมหรือกระทรวงในปัจจุบัน เช่น ถ้าเป็นกระทรวงแพ่ง แลฝ่ายจำเลยนั้นเป็นกรม ฝ่ายนอกให้ส่งไปแพ่งกระเสมพิจารณา, ถ้ามีผู้ร้ายลักช้างม้าผู้คนโคกระบือทรัพยสิ่งใด ๆ เปนกระทรวงนครบาลได้ว่า. (สามดวง). (เทียบ ข. กรฺสวง; ไทยเหนือ ส่วง ว่า ข้าง, ฝ่าย).

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ