ค้นเจอ 106 รายการ

ชลาสินธุ์

หมายถึงน. ทะเล, แม่น้ำ, เช่น ข้าเป็นไรแทรกขนสุบรรณบิน เร็วรีบยิ่งมหาวายุพัด กวักกวัดปีกข้ามชลาสินธุ์. (กากี), น้ำ เช่น พระเหลือบเล็งชลาสินธุ์ ในวารินทะเลวน ก็เห็นรูปอสุรกล ซึ่งกลายแกล้งเป็นสีดา. (พากย์นางลอย).

อิศวร

หมายถึง[อิสวน] น. ชื่อเรียกพระศิวะซึ่งเป็นพระเจ้าองค์หนึ่งของพราหมณ์; ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส และแผลงเป็น เอศวร เช่น นเรศวร ราเมศวร, ใช้ย่อเป็น อิศร (อ่านว่า อิสวน) ก็มี เช่น ใยยกพระธำมรงค์ สำหรับองค์อิศรราช. (เพชรมงกุฎ). (ส. อีศฺวร).

เอย,เอย,เอ่ย,เอ่ย

หมายถึงคำกล่าวประกอบหลังชื่อ เป็นเชิงปรารภเป็นต้น หรือลงท้ายคำกลอน เช่น แม่เอย แกอย่ามาห้ามข้า ตัวของลูกยาก็ไม่ฟัง. (มโนห์รา), เจ้ามัทรีเจ้ามาไยเวลาปานฉะนี้ พระน้องเอ่ย ผิดเวลากาล. (ม. ร่ายยาว กุมาร), ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมลฑล และทิ้งตนตัวเปลี่ยวอยู่เดียวเอย. (บทดอกสร้อย).

อักษรสูง

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงจัตวา ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขา ข่า ข้า คำตายพื้นเสียงเป็นเสียงเอก ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท เช่น ขะ ข้ะ มี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห.

แล

หมายถึงว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฿. (เตลงพ่าย).

ตรึก

หมายถึง[ตฺรึก] ก. หมด, สิ้น, เปลือง, น้อย, มักใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ตรึก, มิตรึก, เช่น จึงองค์มิสาระปันหยี จึงตอบว่าข้าจะให้ไก่ดีดี ของเรามีไม่ตรึกอย่าร้อนใจ. (อิเหนา), ท่านก็ไม่ขัดสนจนพราย มากมายตามพรูอยู่มิตรึก แรกรักจะรำพันให้ครั่นครึก. (ขุนช้างขุนแผน), ฤๅจะใคร่ได้เมียสาว ๆ ขาว ๆ ดี ๆ มีไม่ตรึก. (มณีพิชัย).

จีบ

หมายถึงก. พับกลับไปกลับมาหรือทำให้ย่นเป็นกลีบเป็นรอย เช่น จีบผ้า, เรียกผ้าที่จีบในลักษณะเช่นนั้นว่า ผ้าจีบ; (ปาก) เกี้ยวพาราสี. น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้ง มีไส้ มีรอยเป็นจีบ ๆ; (ราชา) เรียกเหล็กแหลมคือลูกชนักสำหรับใช้ในการขี่ช้างตกมันว่า พระแสงจีบ; ลักษณนามเรียกพลูที่ม้วนพันใยฝ้ายแล้ว เช่น พลูจีบหนึ่ง พลู ๒ จีบ.

เค้า

หมายถึงน. สิ่งที่เป็นเครื่องกำหนดหมายบอกให้รู้ เช่น ฝนตั้งเค้า; สิ่งที่ส่อแสดงให้รู้ได้ว่ามีลักษณะเหมือนสิ่งอื่น เช่น นาย ก มีเค้าหน้าเหมือนนาย ข; ต้นเงื่อน เช่น ต้นเค้า; รูปหรือรูปความโดยย่อ เช่น เขียนพอให้เห็นเป็นเค้า; ร่องรอย เช่น พอได้เค้า; เหง้า เช่น โคตรเค้าเหล่ากอ; ข้า. (อนันตวิภาค); ตัวเงินหรือวัตถุที่ใช้แทนตัวเงิน เช่นเมล็ดมะขามเป็นต้นที่เป็นทุนซึ่งตั้งไว้สำหรับเล่นในบ่อนการพนันบางชนิด, เรียกผู้ถือต้นทุนในการพนันว่า ถุงเค้า.

ป่าน

หมายถึงน. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ เปลือกเป็นใยเหนียว ใช้ทอผ้าและทำเชือก เช่น ป่านรามี [Boehmeria nivea (L.) Gaudich.] ในวงศ์ Urticaceae, ป่านมนิลา (Musa textilis L.) ในวงศ์ Musaceae; เชือกที่ทำด้วยป่าน, ถ้าใช้ชักว่าวเรียกว่า ป่านว่าว, ถ้าเป็นเส้นเล็กเรียกว่า ป่านแลบ, ถ้ายังเป็นกาบอยู่ ยังไม่ได้ฟั่นเชือกเรียกว่า ป่านกลีบ; ชื่อผ้าเนื้อละเอียดและบางโปร่งที่ทอจากเส้นใยพืชบางชนิด เรียกว่า ผ้าป่าน.

แถก

หมายถึงก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวง กุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ