ค้นเจอ 2,020 รายการ

อห

หมายถึง[อะหะ] น. วัน, วันหนึ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาสในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น สัปดาห์ มาจาก ส. สปฺต + อห = ๗ วัน.

สุต

หมายถึง[สุด] น. ลูกชาย (มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส). (ป., ส.).

นิยม

หมายถึง(แบบ) น. การกำหนด. (ป., ส.). ก. ชมชอบ, ยอมรับนับถือ, ชื่นชมยินดี, ถ้าใช้ประกอบท้ายคำสมาสบางคำมีความหมายว่า ลัทธิ เช่น ชาตินิยม สังคมนิยม.

การ,-การ,-การ

หมายถึงน. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.

ษัษ

หมายถึงว. หก. (คำสมาสใช้ ษัฏ บ้าง ษัฑ บ้าง ษัณ บ้างตามวิธีสนธิ). (ส.; ป. ฉ).

บาล

หมายถึง(แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).

ษัฑ

หมายถึงว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าพยัญชนะพวกโฆษะ เว้นจาก ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).

ย่ะ

หมายถึงว. คำรับ (ถือเป็นคำไม่สุภาพ).

ปฤจฉาคุณศัพท์

หมายถึง(ไว) น. คำคุณศัพท์ที่เป็นคำถาม เช่นคำ “อะไร” ฯลฯ.

รับสัมผัส

หมายถึงก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้าว่า คำรับสัมผัส.

สัตถุ

หมายถึงน. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).

ยง

หมายถึงว. อร่ามเรือง, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น โฉมยง ยุพยง.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ