ค้นเจอ 2,020 รายการ

อายน

หมายถึง[-ยน] น. การมาถึง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น เมษายน คือ เมษ + อายน แปลว่า การมาถึงราศีเมษ. (ป., ส.).

หรือ

หมายถึงสัน. คำบอกความให้เลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น จะเอาเงินหรือทอง; คำประกอบกับประโยคคำถาม เช่น ไปหรือ.

จ๊ะ

หมายถึงว. คำต่อท้ายคำเชิญชวนหลังคำ “นะ” หรือ “ซิ” เช่น ไปนะจ๊ะ เชิญซิจ๊ะ หรือต่อท้ายคำถามเป็นต้น เช่น อะไรจ๊ะ.

สุนทร,สุนทร-

หมายถึง[-ทอน, -ทอนระ-, -ทอระ-] ว. งาม, ดี, ไพเราะ, เช่น วรรณคดีเป็นสิ่งสุนทร, มักใช้เข้าสมาสกับคำอื่น เช่น สุนทรพจน์ สุนทรโวหาร. (ป., ส.).

กริยาวิเศษณ์

หมายถึง(ไว) น. คำวิเศษณ์ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ด้วยกันให้มีความแปลกออกไป.

นั่นเอง

หมายถึงคำประกอบคำอื่นแสดงการเน้นให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น เขานั่นเอง.

แปลยกศัพท์

หมายถึงก. ยกคำบาลีขึ้นมาแปลเป็นไทยไปทีละคำ.

จั๊วะ

หมายถึงว. คำแต่งคำ ขาว ให้รู้ว่าสีขาวมาก, จ๊วก ก็ว่า.

ติดปาก

หมายถึงก. ใช้คำใดคำหนึ่งบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย.

อารัมภ,อารัมภ-,อารัมภะ,อารัมภ์

หมายถึง[อารำพะ-] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).

ธรรม

หมายถึงคำประกอบท้ายคำที่เป็นนามธรรม เมื่อประกอบแล้วมีความหมายไม่ต่างไปจากคำศัพท์เดิม เช่น วัฒนธรรม อารยธรรม.

ลูกคำ

หมายถึงน. เรียกคำ ๒ คำเมื่อเอามาประสมกันแล้วมีความหมายต่างไปจากคำเดิมว่า ลูกคำของคำตั้ง เช่น ลูกค้า ลูกเขย เป็นลูกคำของคำ ลูก.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ