ค้นเจอ 113 รายการ

สรเหนาะ,สระเหนาะ

หมายถึง[สฺระเหฺนาะ] (กลอน) ว. เสนาะ, ไพเราะ; วังเวงใจ, เศร้าใจ, เช่น สรเหนาะนิราษน้อง ลงเรือ. (โคลงกำสรวล), สระเหนาะน้ำคว่วงคว้วง ควิวแด. (โคลงกำสรวล). (ข. สฺรโณะ ว่า นึกสังเวช สงสาร วังเวงใจ อาลัยถึง).

ก้น

หมายถึงน. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลำตัว, โดยปริยายหมายความถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับ ปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.

เสี้ยน

หมายถึงน. เนื้อไม้ที่แตกเป็นเส้นเล็ก ๆ ปลายแหลมอย่างหนาม, เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น หน่อไม้แก่มีเนื้อเป็นเสี้ยน; ข้าศึก เช่น สระทุกข์ราษฎร์รอนเสี้ยน. (นิ. นรินทร์), เหือดเสี้ยนศึกสยาม สิ้นนาฯ. (ตะเลงพ่าย).

บัง

หมายถึงคำพยางค์หน้า เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ก วรรค เช่น บังเกิด บังควร บังคับ หรือเมื่ออยู่หน้าเศษวรรค เช่น บังวาย บังหวน บังอาจ, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ จ วรรค หรือ ต วรรค แปลงเป็น บัน เช่น บันเจิด บันโดย, เมื่ออยู่หน้าพยัญชนะ ป วรรค เขียนเป็นสระอำ เช่น บำเพ็ญ.

หมายถึง[อะ] เป็นอักษรใช้นำหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).

มาตรา

หมายถึง[มาดตฺรา] น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก; แม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด เรียกว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา, หลักเกณฑ์ที่วางไว้เพื่อให้กำหนดได้ว่าคำที่มีพยัญชนะตัวใดบ้างเป็นตัวสะกดอยู่ในมาตราใดหรือแม่ใด คือ ถ้ามีตัว ก ข ค ฆ สะกด จัดอยู่ในมาตรากกหรือแม่กก, ถ้ามีตัว ง สะกด จัดอยู่ในมาตรากงหรือแม่กง, ถ้ามีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด จัดอยู่ในมาตรากดหรือแม่กด, ถ้ามีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด จัดอยู่ในมาตรากนหรือแม่กน, ถ้ามีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกดจัดอยู่ในมาตรากบหรือแม่กบ, ถ้ามีตัว ม สะกด จัดอยู่ในมาตรากมหรือแม่กม, ถ้ามีตัว ย สะกด จัดอยู่ในมาตราเกยหรือแม่เกย, ถ้ามีตัว ว สะกด จัดอยู่ในแม่เกอว; (กฎ) บทบัญญัติในกฎหมายที่แบ่งออกเป็นข้อ ๆ โดยมีเลขกำกับเรียงตามลำดับ; (ฉันทลักษณ์) ระยะเวลาการออกเสียงสระสั้นยาว สระสั้น ๑ มาตรา สระยาว ๒ มาตรา.

หมายถึงพยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).

ทุ่น

หมายถึงน. สิ่งที่ลอยนํ้าสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง, โดยปริยายหมายถึงพยัญชนะ อ ที่เป็นทุ่นให้สระเกาะ เช่น อา อี อู. ก. ผ่อนหรือช่วยให้สิ้นเปลืองน้อยลง เช่น ทุ่นแรง ทุ่นเวลา ทุ่นสตางค์.

อักษรต่ำ

หมายถึง[อักสอน-] น. พยัญชนะที่คำเป็นมีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันได้ ๓ เสียง มี ๒ รูป คือ ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี เช่น คา ค่า ค้า คำตายสระสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คะ ค่ะ ค๋ะ คำตายสระยาว พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงตรี ผันด้วยวรรณยุกต์ เป็นเสียงจัตวา เช่น คาก ค้าก ค๋าก มี ๒๔ ตัว คือ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ.

ทีฆสระ

หมายถึงน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู เอ ไอ โอ ฤๅ ฦๅ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว ฤๅ ฦๅ.

รัสสระ

หมายถึง[รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อำ ใอ ไอ เอา. (ป.).

ราชวรมหาวิหาร

หมายถึง[ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะสงคราม.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ