ค้นเจอ 126 รายการ

มหัคฆ,มหัคฆ-

หมายถึง[มะหักคะ-] ว. มีค่ามาก, มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น มหัคฆภัณฑ์ คือ สิ่งของที่มีค่ามาก. (ป. มหคฺฆ; ส. มหารฺฆ).

กนก

หมายถึง[กะหฺนก] (แบบ) น. ทองคำ เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาสเช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ). (ป.; ส.).

บาล

หมายถึง(แบบ) ก. เลี้ยง, รักษา, ปกครอง, เช่น บาลเมือง, โดยมากใช้เป็นคำหลังสมาส เช่น โลกบาล รัฐบาล นครบาล โคบาล นิรยบาล. (ป., ส. ปาล).

ษัฑ

หมายถึงว. หก. (ใช้ในคำสมาส เมื่อนำหน้าพยัญชนะพวกโฆษะ เว้นจาก ณ ม ย). (ส.; ป. ฉ).

ษัษ

หมายถึงว. หก. (คำสมาสใช้ ษัฏ บ้าง ษัฑ บ้าง ษัณ บ้างตามวิธีสนธิ). (ส.; ป. ฉ).

ชีวประวัติ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

ชีวะประวัติ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

ชว,ชว-

หมายถึง[ชะวะ-] (แบบ) ว. เร็ว, (มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส) เช่น ชวการ ชวกิจ ชวเลข, แผลงเป็น เชาว์ ก็มี.

ธร

หมายถึง[ทอน] น. การยึดไว้, การถือไว้, การทรงไว้, การมีไว้; ผู้รักษาไว้, ผู้ทรงไว้, มักใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น วิชาธร วินัยธร. (ป.; ส. ธฺฤ).

เบญจ,เบญจ-,เบญจะ

หมายถึง[เบนจะ-] ว. ห้า, ลำดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ มาตรา ... เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.

ปโย,ปโย-

หมายถึงน. นํ้านม, นํ้า. (ป., ส. ปย), ที่เป็น ปโย เพราะเข้าสมาสกับศัพท์ที่มีพยัญชนะตัวหน้าเป็นอักษรตํ่าหรือตัว ห ดังตัวอย่างต่อไปนี้

เปกข์,-เปกข์

หมายถึงน. ผู้เพ่ง, ผู้มุ่ง, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น อุปสัมปทาเปกข์ คือ ผู้เพ่งอุปสมบท ผู้มุ่งอุปสมบท. (ป.).

จุล,จุล-

หมายถึง[จุนละ-] ว. เล็ก, น้อย, (มักใช้นำหน้าคำสมาส) เช่น จุลศักราช จุลพน. (ป. จุลฺล).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ