ค้นเจอ 113 รายการ

วิสรรชนีย์

หมายถึง[วิสันชะนี] น. เครื่องหมายสระรูปดังนี้ ะ ใช้ประหลังอักษร. (ส. วิสรฺชนีย).

ก กา

หมายถึงน. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกดว่า แม่ ก กา หรือ มาตรา ก กา.

บังคับลหุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงเบา คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกด เช่น จะ ติ แพะ.

เสียบหนู

หมายถึงน. ไม้ที่เสียบขัดกับไม้ข้างควายที่ขนาบจากหลบหลังคาเรือน; ไม้ฝนทองที่เขียนบนพินทุอิ เป็น สระอี.

ฝนทอง

หมายถึงน. เครื่องหมายรูปสระ เป็นรูปรอยขีดเดียวดังนี้ ' สำหรับเขียนบนพินทุ อิ เป็นสระ อี; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง.

บังคับครุ

หมายถึงน. กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้พยางค์ที่มีเสียงหนัก คือ พยางค์ที่ประกอบด้วยสระเสียงยาวทั้งที่มีตัวสะกดและไม่มีตัวสะกด เช่น มา ดี ขาว สาย พยางค์ที่ประกอบด้วยสระสั้นที่ออกเสียงอย่างมีตัวสะกดทั้ง ๔ คือ อำ ใอ ไอ เอา เช่น รำ ใจ และพยางค์ที่มีตัวสะกดทั้งสิ้น เช่น จัด เรียน.

สุญญากาศ เป็นคำที่ถูกต้อง ✅

สูญญากาศ เป็นคำที่เขียนผิด ❌

จรบน,จรบัน

หมายถึง[จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชำระจรบันสระหอมรส. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).

เสียรอย

หมายถึง(วรรณ) ก. ทำรอยให้หลงเข้าใจผิด เช่น แล้วเสียรอยถอยหลังลงสู่สระศรี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).

แผลง

หมายถึง[แผฺลง] ก. แปลงสิ่งเดิมให้เพี้ยนแปลกไป เช่น แผลงสระ แผลงพยัญชนะ. ว. ที่แตกต่างไปจากปรกติ เช่น เล่นแผลง คำแผลง.

ลงท่า

หมายถึงน. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการเรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน; พิธีนำช้างลงสรงสนานที่ท่า.

อาเทศ

หมายถึง[-เทด] น. การแปลงหรือแผลงพยัญชนะและสระตามข้อบังคับแห่งไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต เช่น สมบัติ + อภิบาล อาเทศสระอิ ที่ ติ เป็น ย แล้วสนธิกับ อภิบาล เป็น สมบัตยาภิบาล, ธนุ + อาคม อาเทศสระอุ ที่ นุ เป็น ว แล้วสนธิกับ อาคม เป็น ธันวาคม, อธิ + อาสัย อาเทศอธิ เป็น อัชฌ แล้วสนธิกับ อาสัย เป็น อัชฌาสัย. (ส.; ป. อาเทส).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ