ค้นเจอ 2,847 รายการ

ปากกบ

หมายถึงน. รอยมุมของสิ่งที่มีรูปสี่เหลี่ยมประกบกันเป็นรอยแบ่งมุมฉากออกเป็น ๒ มุม เช่น รอยมุมสบง จีวร กรอบรูป กรอบหน้าต่าง.

ลายเฉลว ๕ มุม

หมายถึงน. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานตะกร้อ จะสานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ก็ได้ วิธีสานเหมือนกับสานตาเฉลวโปร่ง แต่ใช้หวาย ๕ เส้นเรียงกันเป็นแถบและสานให้มีลักษณะเป็นตาห้าเหลี่ยม.

ตัดหนามอย่าไว้หน่อ

หมายถึง(สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ.

ตักบาตรอย่าถามพระ

หมายถึง(สำ) ก. จะให้อะไรแก่ผู้ที่เต็มใจรับอยู่แล้ว ไม่ควรถาม.

ลางเนื้อชอบลางยา

หมายถึงน. ยาอย่างเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง; (สำ) ของสิ่งเดียวกัน ถูกกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกกับอีกคนหนึ่ง.

ขาดกัน

หมายถึงก. แยกจากกัน ไม่คบค้าสมาคมกันต่อไป เช่น แม้นมิยกพลไกรไปช่วย ถึงเราม้วยก็อย่ามาดูผี อย่าดูทั้งเปลวอัคคี แต่วันนี้ขาดกันจนบรรลัย. (อิเหนา).

สูสี

หมายถึงก. เกี่ยวพัน, ข้องแวะ, เช่น อย่าไปสูสีกับคนพาล; ไล่เลี่ย, พอ ๆ กัน, เช่น ฝีมือของ ๒ คนนี้สูสีกัน สอบได้คะแนนสูสีกัน.

เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า

หมายถึง(สำ) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย.

วิหารคด

หมายถึงน. วิหารที่มีลักษณะคดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม อาจมีหลังเดียวก็ได้ โดยมากจะมี ๔ มุม และประดิษฐานพระพุทธรูป, สิ่งก่อสร้างที่คดเป็นข้อศอกอยู่ตรงมุม.

คลิด

หมายถึง[คฺลิด] ก. ขัด, แคลง, เคลื่อน, เคล็ด, เช่น มาอย่าคลิดอย่าคลาด. (ม. คำหลวง มหาราช).

ย่อเหลี่ยม

หมายถึงก. ทำให้มุมของเสาหรือภาชนะเช่นผอบ ตะลุ่ม ลึกเข้าไปทางด้านในเป็นมุม ๙๐ องศา.

จราจร

หมายถึง[จะราจอน] น. การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง, เรียกผู้มีหน้าที่เกี่ยวด้วยการนั้น; (กฎ) การใช้ทางของผู้ขับขี่ คนเดินเท้า หรือคนที่จูง ขี่ หรือไล่ต้อนสัตว์.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ