ค้นเจอ 81 รายการ

จริยวัตร,จริยาวัตร

หมายถึงน. หน้าที่ที่พึงประพฤติปฏิบัติ; ความประพฤติ ท่วงทีวาจา และกิริยามารยาท.

มือเก่า

หมายถึงว. มีความชำนาญหรือชํ่าชองมาก เช่น อย่าประมาทมือเก่านะเจ้าเอ๋ย. (อภัย).

เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า

หมายถึง(สำ) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียวกับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย.

บัพพาชนียกรรม

หมายถึง[บับพาชะนียะกำ] น. กรรมที่สงฆ์ทำแก่ภิกษุที่จะพึงขับไล่, พิธีขับไล่บุคคลที่พึงขับไล่. (ป. ปพฺพาชนียกมฺม).

กระทงแถลง

หมายถึง(กฎ; เลิก) น. ส่วนสำคัญในสำนวนความที่เป็นประเด็นและที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.

กรัณย์

หมายถึง[กะรัน] น. กิจ. ว. อันพึงทำ เช่น ราชกรัณย์. (ป. กรณีย).

สิกขาบท

หมายถึงน. ข้อศีล, ข้อวินัย, บทบัญญัติในพระวินัยที่พึงศึกษาปฏิบัติ. (ป.).

ประมัตตะ

หมายถึงว. เลินเล่อ, มัวเมา, ประมาท, มักง่าย, เหลวไหล, เพิกเฉย, ทอดทิ้ง. (ส. ปฺรมตฺต; ป. ปมตฺต).

สาเหตุ

หมายถึง[สาเหด] น. ต้นเหตุ เช่น ความประมาทเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ บุหรี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นโรคมะเร็ง.

ทวง

หมายถึงก. เรียกเอาสิ่งที่เป็นของตนหรือที่ติดค้างกลับคืน เช่น ทวงหนี้ ทวงเงิน ทวงค่าเช่า, เรียกร้องเอาสิ่งที่จะพึงมีพึงได้ เช่น ทวงสิทธิ ทวงบุญทวงคุณ.

หาสยะ

หมายถึง[-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).

ศรวณีย์

หมายถึง[สะระวะนี] ว. พึงได้ยิน, ควรได้ยิน; น่าฟัง, น่าชม. (ส.; ป. สวนีย).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ